การพัฒนาวิธีหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ

Main Article Content

กิตติพงศ์ แซ่เตียว ธนิศร มีสังเกต ไพฑูรย์ ทองสุข ชลิตา แก้วบุตรดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาวิธีหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ เพื่อศึกษาและออกแบบการพัฒนาวิธีหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติจากเครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ โดยหาประสิทธิภาพของเครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ และศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกร ประชาชน และนักศึกษาที่มีต่อประสิทธิภาพเครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ หลังการถ่ายทอดความรู้ จากการออกแบบเครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์ให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และอากาศ  มีโครงสร้างขนาด กว้างxยาวxสูง คือ 216 เซนติเมตร x 290 เซนติเมตร x 153 เซนติเมตร สามารถบรรจุปุ๋ยสูงสุด 250 กิโลกรัม การวิจัยครั้งนี้ใช้มูลสุกร 200 กิโลกรัมผสมกับ พด.1การควบคุมการทำงานใช้ไมโครคอลโทรเลอร์ทามเมอร์เป็นตัวกำหนดวงรอบการทำงาน โดยตั้งให้ระบบทำงานหลังจากเข้ากองปุ๋ยเป็นเวลาทุก ๆ 7 วัน รอบละ 36 นาที เป็นเวลา 35 วัน


เมื่อเปรียบเทียบผลประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลสุกรที่ได้จากการหมักแบบธรรมชาติของเกษตรกรกับการหมักโดยใช้เครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ พบว่าการหมักแบบธรรมชาติของเกษตรกร จะใช้ระยะเวลานานมากกว่า 2 เดือน ส่วนการหมักแบบใช้เครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ ใช้มูลสุกรผสมกับจุลลินทรีย์ พด.1 พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน จะมีการเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติและใช้จุลินทรีย์น้ำ พด.2 รดกองปุ๋ยอัตโนมัติ การเติมอากาศจะทำให้อุณหภูมิลดลง การเติมจุลินทรีย์เป็นการเพิ่มความชื้นเฉลี่ย 63.8 % รอบละ 7 วัน วนไปเป็นวงรอบ 5 ครั้งเป็นระยะเวลา 35 วัน ผู้วิจัยพบว่าปุ๋ยหมักที่ได้มีลักษณะร่วน เบา มีสีน้ำตาลคล้ำ กลิ่นมูลสุกรลดลงมาก ผลการวิเคราะห์ก่อนการหมักพบค่ายูเรียไนโตรเจนมีค่า 1.33% และหลังการหมักผ่านไป 35วัน ค่ายูเรียไนโตรเจนลดลงเป็น 1.26%


สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกร ประชาชน และนักศึกษาที่มีต่อความพึงพอใจ ที่มีต่อประสิทธิภาพเครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรียอัตโนมัติ  โดยรวมอยู่ในระดับ ดี ( = 3.85, S.D. = 0.80)  จำแนกเป็น 2 ด้านพบว่า อยู่ในระดับ ดี ทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้  1) ด้านเปอร์เซ็นต์ยูเรียไนโตรเจนก่อนการหมักปุ๋ยและเปอร์เซ็นต์ยูเรียไนโตรเจนหลังการหมักปุ๋ย ( = 3.84, S.D. = 0.84)  2) ด้านระยะเวลาในการหมักแบบธรรมชาติ เปรียบเทียบกับระยะเวลาในการหมักโดยใช้เครื่องหมักปุ๋ยมูลสุกรแบบเติมอากาศและจุลินทรีย์อัตโนมัติ (  = 3.86, S.D. = 0.76)  ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2560). โรงผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเพื่อการผลิตพืชระบบอินทรีย์แบบยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/01/

โรงปุ๋ยหมักเติมอากาศ.pdf. สืบค้น 10 มกราคม 2560.

ฉัตรชัย จันทร์ดวงเด่น (2550,กรกฎาคม – กันยายน). ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ การทำหมักปุ๋ย.

วารสาร MTEC. ฉ.เดือนกรกฎาคม – กันยายน : 50.

ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร. (2549). คู่มือการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองระบบกองเติมอากาศ.

กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

ยงยุทธ โอสถสภาและคณะ. (2556). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม วัฒนศักดิ์ ชมภูนิช (2551). ศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : https://www.doa.go.th/research/showthread.php?tid=1490.

สืบค้น 10 มกราคม 2560.