การพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์

Main Article Content

อรฉัตร อินสว่าง
นิคม ลนขุนทด
เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน
อัษฏา วรรณกายนต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ และ 2) ประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคสินค้าเกษตรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชัน และแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน สำหรับ การซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ในการดำเนินการวิจัย คณะผู้ได้ศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการพัฒนาแอปพลิเคชัน ตามกรอบแนวคิดวงจรพัฒนาระบบ SDLC และนำไปประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการซื้อขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ สถิติที่ใช้เป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัย


  1. ผลการพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ พบว่า ได้แอปพลิเคชันที่เป็นเทคโนโลยี Mobile Application สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ใช้งานได้กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ทั้งในระบบ iOS และ ระบบ Android สามารถตอบโจทย์การซื้อ-การขายผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค เพิ่มศักยภาพทางการตลาด สร้างเครือข่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

  2. 2. ผลการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คุณภาพแอปพลิเคชัน สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.73 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคุณ จงมานัสเจริญ และโกวิท รพีพิศาล. (2560). การศึกษาพฤติกรรม การประเมินคุณภาพ และการยอมรับ

ในการใช้แอปพลิเคชันเรียกรถรับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่) ผ่านสมาร์ทโฟน ในเขตกรุงเทพมหานคร.

การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560; 28 เมษายน 2560. ปทุมธานี; มหาวิทยาลัยรังสิต. หน้า 179-189.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลแอปพลิเคชันไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ.

(2): 75-88.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักเศรษฐกิจการเกษตร.

ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.2561-2565 (ฉบับทบทวน

พ.ศ. 2563). สุรินทร์: ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). การตลาดออนไลน์ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) คืออะไร. ออนไลน์

[เข้าถึงได้จาก] : https://www.thairath.co.th/lifestyle/tech/2046652. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2566.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

ปิยธิดา ศรีพล. (2564). “การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดขอนแก่น”.

วารสารพุทธศึกษาและวิจัย. 7(1): 130-142.

หทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์ และคณะ. (2562). “แอปพลิเคชันการตลาดออนไลน์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษา บริษัท สวรา อินทิเกรชัน จำกัด.” วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

(2): 52-62.

สุภาวดี ชัยวิวัฒน์ตระกูล. (2563). การออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อแนะนำการบริโภคผลไม้ไทย.

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22(2): 88-97.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์. (2563). สินค้าเกษตรอินทรีย์. สุรินทร์: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์.

อัษฎา วรรณกายนต์ และคณะ. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้า

โอทอป จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 41(1): 85-100.

โอภาส เอี่ยมศิริวงศ์. (2547). การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.