การจัดโปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด

Main Article Content

ศิวพร แน่นหนา
ฉัตรพล พิมพา
จรีวรรณ จันทร์คง
ฐิติกร พรหมบรรจง
วริฏฐา เทพนิมิตร
บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช หาพิกัดที่ตั้งและระยะทางการท่องเที่ยว เพื่อนำมาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวสำหรับให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการท่องเที่ยวภายใต้ระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีทั้งหมด 22 แห่ง กระจายตัวในบริเวณอำเภอเมืองและอำเภอข้างเคียง การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวประยุกต์ใช้วิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด (The Nearest Neighbors Method) ในการจัดเส้นทาง โดยกำหนดให้มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการท่องเที่ยวที่สนามบินนานาชาตินครศรีธรรมราช มีเวลาในการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆที่ละ 30 นาทีและมีการท่องเที่ยว 6 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น ผลจากการจัดเส้นทางพบว่ามีเส้นทางการท่องเที่ยวที่แนะนำทั้งสิ้น 4 เส้นทาง และใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวแต่ละเส้นทาง 336.9, 346.3, 355.3, 211.4 นาที ตามลำดับ ผลการจัดเส้นทางนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาจำกัด หรือเป็นแนวทางในการจัดเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดอื่นๆได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). “แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-2570)” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/12-qp4UFjmLAkks2_

UW3ux2SB8bh_Umpg/view. สืบค้น 7 สิงหาคม 2566.

กิ่งแก้ว บังศรี ภัทรภรณ์ บุญเซ่ง เมษ์ธาวิน พลโยธี และ กรรณิการ์ เกิดสวัสดิ์. (2565, มกราคม - มิถุนายน).

“การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการลดการใช้สื่อโซเชียลมีเดียภายในอำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.”วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 15(1): 49-67.

เกศินี สือนิ. (2563, กรกฎาคม – ธันวาคม). “การจัดเส้นทางการขนส่งโดยการเปรียบเทียบระหว่างการใช้วิธีเซฟวิ่ง

อัลกอริทึมและวิธีขั้นตอนวิธีการเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดอัลกอริทึม.” วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12(2) : 1-14.

นฤมล ไชยโคตร ภรปภากร อธิชญานันท์ รติรัตน์ กิตติปัญญาพัฒน์ และสิรเดช ชาตินิยม. (2560, กรกฎาคม –

ธันวาคม). “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการฮิวริสติกส์ในการจัดการขนส่งสำหรับโรงงานกรณีศึกษา

โรงงานจำหน่ายอุปกรณ์ระบบงานไฟฟ้า.” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

(2): 168-177.

วริศรา สมเกียรติกุล กมล เรืองเดช และ บุญฤกษ์ บุญคง. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “แนวทางการจัดทำ

โปรแกรมประยุกต์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1): 144-155.

ศศิพิสุทธิ์ หงส์สมบัติ สุภาวดี อิสณพงษ์ จำรูณ ศิขินารัมย์ และ พรศักดิ์ พุทธมาตย์. (2562, กันยายน-ธันวาคม).

“การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทอง ให้เกิดความยั่งยืน

ตำบลบัวทอง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุรินทร์. 4(3): 9-20.

ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2552). “ลักษณะทางกายภาพ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.nakhonsithammarat.go.th/geography.php. สืบค้น 8 สิงหาคม 2566.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2557). “ข่าวประชาสัมพันธ์” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://nakhonsi.mots.go.th. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). “จำนวนนักท่องเที่ยว” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://nakhonsithammarat.gdcatalog.go.th/dataset/total_tourism

/resource/7d1b4e0e-66d8-4748-a765-199763db7270. สืบค้น7 สิงหาคม 2566.

สุพัตรา พิทักษ์พรพัลลภ ปริวรรต สมนึก และ นวทิวา สีหานาม. (2565, มกราคม-เมษายน). “รูปแบบโปรแกรม

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัด

อุบลราชธานี.”วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(1): 66-81.

อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. (2566, มกราคม – มิถุนายน). “การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยองค์ประกอบ ศักยภาพในการดึงดูดใจ

และการรองรับ ด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ในจังหวัดปราจีนบุรี.” วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 18 (1) : 16-34.

อรจนา แสนไชย จันทรประยูร และสวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). “การพัฒนา

โปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมบนพื้น ฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว (Green Map)

ของชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 13(2): 230-243.

Golman, R., Mostafa, M., Ali, S., Mostafa, H.K., Gaetano, F., and Chiara, C. (2023). “Heuristic

approaches to address vehicle routing problem in the Iot-based waste management

system.” Expert Systems with Applications. 220.

Jalel, E. and Adnan, Y. (2023). “A hybrid metaheuristic algorithm to solve the electric vehicle

routing problem with battery recharging stations for sustainable environmental and energy optimization.” Energy Systems. 14, 243–267.

Jose, C.M., Ignacio, E., and Jesus, R. (2019). “Reducing pollutant emissions in a waste collection

vehicle routing problem using a variable neighborhood tabu search algorithm: a case study.” TOP. 27, 253–287.

Kwan, H.L., Jeffrey, C., Shanika, K., and Christopher, L. (2019). “Tour recommendation and trip

planning using location-based social media: a survey.” Knowledge and Information Systems. 60: 1247–1275.

Nafia, R., Annie, P. and Dwi, N.F. (2020). “The best route determination using nearest neighbor

approach.” International Journal of Industrial Optimization. 1(1): 43-52.