เรื่อง การพัฒนาเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค -

Main Article Content

อธิรัช ลี้ตระกูล
จีระศักดิ์ พิศเพ็ง
วิชัย แหวนเพชร
อัษฏา วรรณกายนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพ และประเมินคุณภาพเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค ตารางบันทึกผลการทดสอบประสิทธิภาพและแบบประเมินคุณภาพ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค โดยนําขั้นตอนการพัฒนาเครื่องจักรกลและแนวคิดกระบวนการเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโคจากนั้นนำเครื่องไปทดสอบประสิทธิภาพ ประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องจักรกลเกษตร ด้านระบบไฟฟ้า ด้านการเลี้ยงสัตว์และด้านเทคโนโลยีการเกษตรและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้เป็นสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัย พบว่า


               1)  ได้เครื่องจักรกลทางการเกษตร ที่สามารถนำมาใช้จัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่เป็นของเสียจากฟาร์มโคเนื้อ-โคนม ได้แก่ มูลโคและเศษหญ้าเศษอาหารที่โคไม่กินและมูลเปียกที่รวมกับปัสสาวะและ     น้ำล้างคอก เป็นต้น


               2)  ประสิทธิภาพเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค


                    (1)  ที่อัตราส่วนมูลวัวต่อน้ำ 1:1 ความชื้นรวมหลังการทดสอบเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 2.90 น้ำหนักรวมหลังการทดสอบเฉลี่ย เท่ากับ 55.40 กิโลกรัม เวลาที่ใช้เฉลี่ยเท่ากับ 11 นาที และปริมาณการคัดแยกเฉลี่ย เท่ากับ 302.18 kg/hr


                    (2)  ที่อัตราส่วนมูลวัวต่อน้ำ 2:3 ความชื้นรวมหลังการทดสอบเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 3.34 น้ำหนักรวมหลังการทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ 44.60 กิโลกรัม เวลาที่ใช้เฉลี่ยเท่ากับ 8.40 นาที และปริมาณการคัดแยกเฉลี่ยเท่ากับ 318.57 kg/hr


                    (3)  ที่อัตราส่วนมูลวัวต่อน้ำ 3:2 ความชื้นรวมหลังการทดสอบเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 2.90 น้ำหนักรวมหลังการทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ 62.60 กิโลกรัม เวลาที่ใช้เฉลี่ยเท่ากับ 15.20 นาที และ ปริมาณการคัดแยกเฉลี่ยเท่ากับ 247.11 kg/hr


               3)  คุณภาพเครื่องแยกของเหลวออกจากมูลโค จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. (2546). เอกสารแนะนำการเลี้ยงโคขุน. กรุงเทพฯ

: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฉัตรภา หัตถโกศล และมณีรัตน์ เตชะวิเชียร. (2563). “โปรตีน: สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย”.

วารสารโภชนาการ. 55 (1) : 82-94.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ

: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

พร้อมลักษณ์ สมบูรณ์ปัญญากุล. (2565). คุณค่าทางด้านโภชนาการของเนื้อโค. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก :

เข้าถึงไดจาก http://extension.dld.go.th/th1/index.php?option=com_

content&view=article&id=214:2012-03-12-07-20-25&

catid=49:2012-03-05-10-24-38&Itemid=40 สืบค้น 4 กันยายน 2565.

ปรารถนา พฤกษะศรี. (2536). คุยกับพ่อค้าวัวปักษ์ใต้. วารสารโคกระบือ. 16(2) : 56-57.

ปศุสัตว์ จังหวัดสุรินทร์. (2565). จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562.

[ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก http://pvlo-sur.dld.go.th/webnew/index.php/th/

qa-menu-2/survey-menu/305-2562 สืบค้น 4 กันยายน 2565.

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. (2562). วัฒนธรรมการใช้เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก

https://shorturl.asia/n1TzS สืบค้น 10 กันยายน 2565.

วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ และชาญ ถนัดงาน. (2556). การออกแบบเครื่องกล เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ :

ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สาขาการออกแบบและเทคโนโลยี. (2565). กระบวนการเทคโนโลยี. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก :

http://designtechnology.ipst.ac.th/?page_id=165 สืบค้น 4 กันยายน 2564.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). หนังสือรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สยามรัฐออนไลน์. (2565). "โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา และไข่ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย”.

[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/132912 สีบค้น 4 กันยายน 2565.

สุริยะ สะวานนท์ วรเทพ ชมภูนิตย์ และชุติพงศ์ เนตรพระ. (2554). “การใช้มูลโคในการปลูกหญ้าเนเปียร์ไต้หวัน

ในระบบอินทรีย์ : การใช้มูลโคสด”. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์. 38(150) : 50-56.

สินธุ์ชัย ธรรมยศ. (2551). การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรผู้ทำนาในจังหวัดปทุมธานี.

วิทยานิพนธ์หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมมาธิราช.

อุทัย คันโธ และสุกัญญา จัตตุพรพงษ์. (2565). การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ.

[ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/52/08-

intregration/Uthai/intregration_00.html สืบค้น 4 กันยายน 2565.