องค์ความรู้ด้านงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

มะโนด สุขตาม
ยุพดี สินมาก
อภินันทิชัย โจมสติ
บัญชา ชื่นจิต
กัญญา เยี่ยมสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทขององค์ความรู้ด้านงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่จากกลุ่มชมรมผู้สูงอายุภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานหัตกรรมไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานหัตกรรมไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ ที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน จำนวน 50 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การจัดเวที การออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนี้


           ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีเอกลักษณ์ของที่แสดงถึงความเป็นตัวตนซึ่งถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และการยอมรับร่วมกัน และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของคนในชุมชน อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ทำนาปี ละครั้ง อาชีพเสริมกลุ่มผู้หญิงทอผ้าและกลุ่มผู้ชายจักสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องจักสานผู้สูงอายุสืบทอดการจักสานจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น มีอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่ไม่ยุ่งยาก ประกอบด้วย มีด เครื่องเรียดไม้ไผ่ ทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ ตุ้มเป็นเครื่องมือจักสานขนาดใหญ่ มีรูปทรงกรวยตั้ง ชะลอมใส่ไก่ เล้าไก่ไข่ และตะกร้า ขายได้เฉพาะในชุมชนยังไม่มีตลาดภายนอก และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เสริมให้กับผู้สูงอายุโดยนำไปจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง เนื่องจากสินค้าไม่มีความประณีต ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบไม่หลากหลาย ไม่มีความแปลกใหม่ และขาดเอกลักษณ์ของชุมชน ผู้วิจัยได้ออกแบบภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อหาแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการซื้อ ร่วมกับกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ วิเคราะห์คัดสรรผลิตภัณฑ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา โดยใช้หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานสำหรับงานตกแต่งและใช้สอยได้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ประเภท โคมไฟแขวน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและลวดลายเดิม ๆ ให้เป็นงานที่แปลกใหม่มีความทันสมัย มีเอกลักษณ์ของชุมชน รูปแบบเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ใช้งานสะดวก และมีความเป็นไปได้ในการผลิต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริวัฒน์ นาคพนม. (2549). การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านจักสานของชุมชนในจังหวัด

อ่างทอง. ปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษา ผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปานฉัตร อินทร์คง. 2559. การออกแบบ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบและการ วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร:

อันลิมิตพริ้นติ้ง.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2540). เครื่องจักสานไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ (2566). การพัฒนางานหัตถกรรมสู่อาเซียน. [ออนไลน์] ได้ จาก : http://www.

sacict.or.th/scripts/ knowledge.php?ntabmenu

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ (2550). ผลของ เทคโนโลยีที่มีต่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส.

สุภาพร ชาววัง. (2552). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการ พัฒนาเครื่องจักสานเชิงพาณิชย์ จังหวัดนครราชสีมา.

วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนุชิต กุลมาลา. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมพื้นบ้านจักสานไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิง

พาณิชย์ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัญชลี คงทอง. (2553). แบบอย่างในการพัฒนาอาชีพจักสาน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประ

ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.