การพัฒนาระบบควบคุมฐานตั้งกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมฐานตั้งกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติผ่านเว็บ แอปพลิเคชั่น ระบบฐานตั้งกล้องสามารถควบคุมการหมุนกล้องโทรทรรศน์ ทั้งแกนหมุนในแนวราบ (มุมอะซิมุธ) และแกนหมุนในแนวดิ่ง(มุมเงย) แบบอัตโนมัติ และแสดงภาพวัตถุบนท้องฟ้าที่กล้องโทรทรรศน์ส่องผ่านด้วยเว็บ เบราเซอร์ และยังสามารถถ่ายภาพส่งมายังแอพพลิเคชั่นไลน์ ทำให้การศึกษาด้านดาราศาสตร์ สามารถทำพร้อมกัน ได้หลายคน โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และไมโครคอนโทรลเลอร์ จากผลการทดสอบ พบว่า ต้นแบบระบบควบคุมฐานตั้งกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น สามารถควบคุมการหมุนของฐานตั้งกล้องโทรทรรศน์ให้หมุนตามมุมอซิมุธและมุมเงย ให้เคลื่อนที่ได้ทีละ 1 องศาด้วยการกดปุ่มบนเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาในครั้งนี้ และในการค้นหาตำแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ พบว่า การค้นหาตำแหน่งดาวมีความคลาดเคลื่อนของมุมอะซิมุธเฉลี่ย สำหรับดาวไรเจล 2.26% ดาวบีเทลจุส 2.97% ดาวพฤหัส 1.13% และ ดาวอังคาร 0.91% ส่วนความคลาดเคลื่อนของมุมเงยเฉลย สำหรับดาวไรเจล 3.45% ดาวบีเทลจุส 3.12% ดาวพฤหัส 8.42% และดาวอังคาร 2.62%
Article Details
References
กฤษดา บุญชม และวิระภรณ์ ไหมทอง. (2560, เมษายน). “การหาตำแหน่งดาวจากภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล
DSLR ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก”. วารสารวิชาการซายน์เทค มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
(1) : 27-30.
กำจัด ใจตรง สงกรานต์ ภารกุล และณรงค์ฤทธิ์ ยิ้มเจริญพรสกุล. (2564, มีนาคม). “การควบคุมความเร็วรอบของ
เซอร์โวมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยตัวควบคุมแบบพีไอดีโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC”.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 5(1) :78-86.
ชูชาติ แพน้อย. (2563). การพัฒนาแบบจำลองระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้าเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในแนวคิดดาราศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
โภคี บุญนรากร. (2563). ระบบให้อาหารม้าแบบอัตโนมัติด้วยไอโอที.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศุภาวิตา จรรยา.(2564).เทคโนโลยีอวกาศ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : https://www.scimath.org/lesson-earthscience/item/11308-2020-02-17-07-32-28. สืบค้น 7 สิงหาคม 2566.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. (2564). บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน).