การพัฒนาไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบ และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อน เข้าบรรจบระหว่างการทำระดับด้วยไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุกับการทำระดับด้วยไม้ระดับปกติ การเก็บข้อมูลเป็นการทำระดับสายการระดับวงรอบปิดระยะทาง 3.4 กิโลเมตร แบ่งวิธีการทำระดับเป็นสองวิธี คือ วิธีที่ 1 การทำระดับด้วยไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุ และวิธีที่ 2 การทำระดับด้วยไม้ระดับปกติ โดยใช้เกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 ตามมาตรฐาน Federal Geodetic Control Committee 1984 ที่ยอมให้คลาดเคลื่อนเข้าบรรจบได้ไม่เกิน 12 มิลลิเมตร หลังจากนั้นวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบจากการทำระดับทั้งสองวิธี ด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า การทำระดับด้วยไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุมีความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบเฉลี่ย 6.2 มิลลิเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.7 มิลลิเมตร และการทำระดับด้วยไม้ระดับปกติมีความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบเฉลี่ย 5.7 มิลลิเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งผ่านเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 ที่ยอมให้คลาดเคลื่อนเข้าบรรจบได้ไม่เกิน 22 มิลลิเมตร ทั้งสองวิธี และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบระหว่างการทำระดับด้วยไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุกับการทำระดับด้วยไม้ระดับปกติ พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการทำระดับด้วยไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วย เศษวัสดุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความถูกต้องเข้าบรรจบตามเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 ตามมาตรฐาน Federal Geodetic Control Committee 1984 สามารถนำไม้ระดับที่ต่อความยาวด้วยเศษวัสดุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไปใช้แก้ปัญหาในการทำระดับในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากหรือพื้นที่ที่ต่างระดับกันมากที่ความยาวของไม้ระดับมีความยาวไม่ถึงแนวแกนกล้องระดับ และเป็นการประหยัดงบประมาณในการซื้อไม้ระดับใหม่ที่มีความยาวมากกว่า 3 เมตร
Article Details
References
ยรรยง ทรัพย์สุขอำนวย. (2557). การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร :
คาไน้ทรัพย์สุขอำนวย.
________. (2555). วิศวกรรมสำรวจ 1. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : คาไน้ทรัพย์สุขอำนวย.
วัฒนวงศ์ รัตนวราห และ ธนัช สุขวิมลเสรี. (2557). วิศวกรรมสำรวจ. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิชัย เยี่ยงวีรชน. (2557). การสำรวจทางวิศวกรรม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2559). การสำรวจรังวัด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาลัย. (2556). วิศวกรรมสำรวจ. ปทุมธานี : วรรณกวี.
อนันต์ สันตยากร. (ม.ป.ป.). การสำรวจ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Barry F. Kavanagh. (2003). Surveying Principles and Applications. 6th ed.
Prentice Hall.
Barry, F. K. & Dianne, K. S. (2015). Surveying with Construction Application. 8th ed.
Harlow, Essex: Pearson Education.
Busko, M., Frukacz, M., & Szczutko, T. (2014). Classification of precise
Leveling instruments referring to the measurements of historic
city centres. The 9th International Conference “Environmental
Engineering”. Vilinius, Lithuania: VGTU Press.
Paul R. Wolf and Charles D. Ghilani (2006). Elementary Surveying. 7th ed.
New Jersey: Pearson Education.