การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมขนาดเล็ก ความเร็วรอบต่ำภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมขนาดเล็กความเร็วรอบต่ำ โดยการนำพลังงานลมซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1) ออกแบบสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม 2) ทดสอบความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของกังหันลมแกนตั้งและแกนนอน ในการออกแบบสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นประกอบด้วยส่วนที่เคลื่อนที่ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กถาวร จำนวน 48 ก้อน หล่อด้วยเรซิ่น และขดลวดสเตเตอร์ ใช้ขดลวดทองแดงเบอร์ # 23 AWG. จำนวน 10 ขด จำนวนขดละ 1,500 รอบ จากนั้นทำการออกแบบใบพัดกังหันลมให้เหมาะสมกับความเร็วลมรอบต่ำ ประกอบด้วยกังหันลมแบบแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) ประยุกต์ใช้พัดลมระบายอากาศของหลังคามีกลีบทั้งหมด 36 กลีบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 60 ซม. มีความสูงของใบที่ 50 เซนติเมตร และกังหันลมแบบแกนนอน (Horizontal axis Wind Turbine) สร้างจากท่อพลาสติกมีความยาวที่ต่างกันคือ ยาว 60 เซนติเมตร 80 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร จากนั้นทำการทดสอบเปรียบเทียบการผลิตไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่สร้างขึ้น
จากผลการทดลองจะเห็นค่าความแตกต่างของกันหันลมทั้งสองแบบในการผลิตไฟฟ้าที่แตกต่างกัน พบว่า แรงดันไฟฟ้าของใบพัดแกนนอนขนาดความยาวใบพัด 80 เซนติเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณสูงสุดที่ความสูง 6 เมตร ความเร็วลม 4 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 358 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 40.67 โวลต์ และต่ำสุดที่ความสูง 2 ม. ขนาดความยาวใบพัด 100 เซนติเมตร ความเร็วลม 1.1 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 167 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 13.41 โวลต์ ซึ่งจะแตกต่างกับกังหันลมผลิตไฟฟ้าแกนตั้งที่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ความสูง 6 เมตร ความเร็วลม 4 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 64 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 26.54 โวลต์ และต่ำสุดที่ความสูง 2 เมตร ความเร็วลม 1.1 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 30 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 13.74 โวลต์ จากผลดังกล่าวเป็นแนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนโดยใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าต่อไป
Article Details
References
ธวัชชัย อัตถวิบูลย์กุล. (2546). เครื่องกลไฟฟ้า1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.
พงษ์เทพ นามศิริ (2552). การประยุกต์ใช้กังหันลมขนาดเล็ก 200 W เพื่อผลิตพลังงานทดแทนบนไซโล
กรณีศึกษาของบริษัทKatoen Natie Services (Thailand) Ltd. การค้นคว้าอิสระ สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงษ์เทพ นามศิริ (2552). การประยุกต์ใช้กังหันลมขนาดเล็ก 200 W เพื่อผลิตพลังงานทดแทนบนไซโล
กรณีศึกษาของบริษัทKatoen Natie Services (Thailand) Ltd. การค้นคว้าอิสระ สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไมตรี พลสงคราม, ปรีชา ขันติโกมล และ ภัสส์กุญช์ ฐิติมหัทธนกุศล. (2557) “การศึกษาเชิงทดลองต้นแบบกังหันลม
แกนตั้งแบบใบปรับมุมพิทช์ด้วยกลไกแบบ 4 ชิ้น” การประชุมวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7. ประจวบคีรีขันธ์, 12-14พฤศจิกายน 2557, หน้า. 642-649.
วิรชัย โรยนรินทร์. (2551). รายงานการศึกษาวิจัยพัฒนาสาธิต ต้นแบบเทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็ว
ลมต่ำ. มทร.ธัญบุรี, กรมการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2551.
เสริมศักดิ์ ทิพย์วงศ์. (2556). “กังหันลมผลิตไฟฟ้าสำหรับการส่องสว่างภายนอกอาคาร”, รายงานการวิจัยฉบับ
สมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
A.K. Wright and D.H. Wood. (2004). The starting and low wind speed behavior of a small
Horizontal axis wind turbine. J. Wind Eng. Ind. Aerod. 92, 2004, pp. 1265-1279.
D. Wood. (2011).Small Wind Turbines. Analysis, Design, and Application. Springer. London. E.Hau. (2013). Wind Turbines:Fundamentals, Technologies, Application, Economics. Springer-
Verlag Berlin.
Islam, S.M., Nayar, C.V., Abu-Siada, A. and Hasan, M.M. (2018). Power Electronics for Renewable
Energy Sources. In: Power Electronics Handbook, 4th Edition, Butterworth-Heinemann, Oxford, 783-827.
M. Ahmad, A. Mazen and M. Tharwat. (2006). Vertical axis wind turbine modeling and
performance with axial flux permanent magnet synchronous generator for battery charging applications. Retrieved September 14, 2006.
M. M. Saad, and N. Asmuin. (2014). Comparison of Horizontal Axis Wind Turbines and Vertical Axis
Wind Turbines . IOSR Journal of Engineering (IOSRJEN), Vol. 04, Issue 08 , August. 2014, pp. 27-30.
Stephen J. C. (1992). ELECTRIC MACHINERY FUNDAMENTALS. 2nd ed. Singapore : McGraw-Hill.