การพัฒนาเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อ

Main Article Content

ธรรมศาสตร์ ไทยเกิด
ก่อพงศ์ สิทธิไพศาลวรกุล
ธิดารัตน์ ชูโสด
เสริมศักดิ์ เกิดวัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเป็นการสร้างเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อสำหรับชุมชน สวนพริกไทยลุงแย้ม  ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยส่วนประกอบของเครื่อง 4 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างเครื่องแยกผลพริกไทย ชุดต้นกำลังและระบบส่งกำลัง ชุดตัวถังแยกผลพริกไทย และตะแกรงแยกผลพริกไทย ซึ่งโครงเครื่องทำด้วยเหล็กอาบสังกะสี มีขนาดความกว้าง 38 เซนติเมตร ยาว 38 เซนติเมตร สูง 53 เซนติเมตร ถังนอกทำด้วยสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร สูง 62 เซนติเมตร ด้านล่างของถังเป็นรูปกรวยเพื่อลำเลียงพริกไทยออกจากตัวถัง ชุดถังในทำด้วยตะแกรงสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านในตัวถังมีแท่ง สแตนเลสรูปทรงสามเหลี่ยมช่วยเพิ่มแรงสัมผัสของพริกไทยกับผนัง เพื่อให้พริกไทยแยกออกจากก้านช่อได้ดียิ่งขึ้น ด้านล่างของถังเป็นแผ่นวงกลมทำด้วยตะแกรงสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร หมุนเหวี่ยงพริกไทยให้ไปสัมผัสผนังของถังเพื่อแยกผลพริกไทย ใช้ความเร็วรอบประมาณ 1,200 รอบต่อนาที โดยมีมอเตอร์ ขนาด 0.5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง


         ผลการทดสอบการใช้งานของเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อพบว่าสามารถแยกผลพริกไทยได้เฉลี่ย 101.00 กิโลกรัมต่อชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 1.20 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่การแยกผลพริกไทยด้วยแรงงานคนเท่ากับ 1.65 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เครื่องสามารถแยกผลพริกไทยรวดเร็วกว่าแรงงานคนเท่ากับ 98.37 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อเท่ากับ 96.75 เปอร์เซ็นต์ และสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องทำให้สามารถแยกผลพริกไทยได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว เครื่องจึงมีประสิทธิภาพช่วยลดเวลาในการแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อและตรงตามความต้องการของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ghodki, B. M., & Goswami, T. K. (2017). Thermal and mechanical properties of black pepper at

different temperatures. Journal of Food Process Engineering, 40(1), e12342.

Lee, J. G., Chae, Y., Shin, Y., & Kim, Y. J. (2020). Chemical composition and antioxidant capacity of

black pepper pericarp. Applied Biological Chemistry, 63, 1-9.

Ravindran, P. N., and Johny A. Kallupurackal. "Black pepper." Handbook of herbs and spices.

Woodhead Publishing, 2012. 86-115.

ทศพร เครือยั่งยืน, ธนวัฒน์ ผลธัญญา, นริศ ถนอมสินทรัพย์. (2563). การออกแบบ สร้าง และพัฒนาชุดคัดแยก

ของเครื่องนวดพริกไทย. ปริญญานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเกษตร) สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร, สกุลรัตน์ หาญศึก และรัตนา อุ่นจันทร์. (2566). “การส่งเสริมการปลูกพริกไทยพันธุ์

ปะเหลียนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง”. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 40(1): 172-183.

นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิต, รัตนา อุ่นจันทร์, พรศิลป์ สีเผือก, สุดนัย เครือหลี, เสาวนีย์ ชัยเพชร และอรอุมา สำลี.

(2566). การผลิตพริกไทยคุณภาพและการจัดการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครศรีธรรมราช.

ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ, จำนอง โสมกุล, สลาลีวัลย์ แน่นแฟ้น, สมนึก ลี้สุขสมบูรณ์ และคุณาธิป ไก่กา. (2562). “ผลของ

ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพและผลผลิตของพริกระยะผลอ่อน”. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า.

(4): 590-597.

มานพ ดอนหมื่น,โยธิน สุริยมาตร, เจษฎา คําภูมี และ ปริญญวัตร ทินบุตร. (2567). “เครื่องสับและผสมอาหารสัตว์

ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์”. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 9(1):

-189.

เมธัส ภัททิยธนี ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ วธัญญู วรรณพรหม บัณฑิตา บัวมาสูง และธวัชชัย อุ่นใจจม. (2565). “การ

พัฒนาเครื่องคัดแยกก้อนชาอู่หลงด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน”. วารสารวิชาการรับใช้สังคม

มทร.ล้านนา. 6(2): 13-18.

ยศวรรธน์ จันทนา, นรัตว์ รัตนวัย. (2565). “ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการปรับตั้งค่าเครื่องหั่นใบตะไคร้ด้วยเทคนิค

ออกแบบการทดลอง”. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 14(19): 83-95

รักษ์พล มีด้วง, ปริญญา ปัญญาศรี, สุริยันต์ นันตะรีสี, อัศวิน สัตตาคม และสุพัตรา สนธิมูล. (2563). “เครื่องแยก

เนื้อมะม่วงสุก”. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 4(2): 105-110.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2565). “การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกพริกไทย”. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร.

(3): 156-168.

ศักดิ์ชาย หย่งกิจ, นิพนธ์ หย่งกิจ, ธวัช แก้วศรีพจน์, กัลยารัตน์ สุริยะธรรม และพิเชษฐ จุลพันธ์. (2565).

“การพัฒนาเครื่องแยกน้ำมันสำหรับอาหารทอด”. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. 7(2):

-63.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). “พริกไทย” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/28pepper.pdf. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567.

อธิรัช ลี้ตระกูล, จีระศักดิ์ พิศเพ็ง, วิชัย แหวนเพชร และอัษฏา วรรณกายนต์. (2566). “การพัฒนาเครื่องแยก

ของเหลวออกจากมูลโค”. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 8(2):

-62.

อัจฉรา แซ่โคว้, สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล และยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล. (2556). “ปัจจัยของการอบแห้งด้วยแหล่ง

พลังงานความร้อนแบบการพาและการแผ่รังสีความร้อนที่มีต่อจลนพลศาสตร์ และคุณภาพของพริกไทยดำ”.

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 18(1): 166-180.

อัญชลี อินคำปา, ดุสิต สิงห์พรหมมาศ, ปราโมทย์ พลิคามิน และอนุวิทย์ สนศิริ. (2563). “เครื่องแยกเมล็ด

ข้าวโพดออกจากซังเพื่อวิสาหกิจชุมชน”. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ.

(1): 1-9.

อัสนี อํานวย, สนธยา เกาะสมบัติ, จุมพลภัทร์ สีทากุลเศรษฐ์ และศักดิ์ทนงค์ วงศ์เจริญ. (2565). “การพัฒนาและ

เพิ่มมูลค่าเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน”. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 7(2): 93-103.