รถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม มีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน 3 ข้อ คือ 1) เพื่อออกแบบและสร้างรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม 2) เพื่อหาประสิทธิภาพรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม และ 3) เพื่อศึกษาความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้งานรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนารถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม ขนาดกว้าง 2,000 มม. ยาว 2,700 มม. สูง 1,450 มม. น้ำหนัก 400 กิโลกรัม โดยใช้ต้นกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ขนาด 9 แรงม้า สามารถหยอดข้าวได้ครั้งละ 8 แถว หยอดข้าวได้จำนวน 5-8 เมล็ดต่อจุด ผลการทดสอบพบว่ารถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม สามารถหยอดข้าวเฉลี่ย 1.46 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 8 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดข้าวที่ตกเฉลี่ย 6.81 เมล็ดต่อจุด อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 2.2 ลิตรต่อไร่ ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 425 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.63 เทียบกับวิธีการทำนาแบบหว่าน เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาจากเงินลงทุนในโครงการซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในของเงินลงทุนซื้อรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตมในราคา 150,000 บาท พบว่าวิธีการเพาะปลูกข้าวแบบใช้รถหยอด มีต้นทุน 3,660 บาทต่อไร่ สามารถลดต้นทุนได้ร้อยละ 18 เทียบกับวิธีทำนาแบบหว่าน มีระยะเวลาคืนทุน 0.62 ปี หรือประมาณ 7.42 เดือน
Article Details
References
Chatthip Natsupa. (2004). Thai culture and process of social change. Bangkok: Chulalonglorn University.
Hemathulin, S., Lasopha, T., Pannucharoenwong, N., Rattanadecho, P., Echaroj, S., and Phongsavath, A. (2019). “Effect of the orientation of the rice seed swivel disc on the seed consumption rate of the dry paddy field sowing machine.” Journal of Research and Applications in Mechanical Engineering. 7(2): 112-121.
Lasopha Thodsatam, Suwipong Hemathulin, Nattadon Pannucharoenwong and Phadungsak Ratanadecho. (2019). “Rotary hoe seeding machine for dry paddy field.” Kaen Kaset Khon Kaen Agriculture Journal, 47(Suppl. 1), 39-46.
Meris, Paulo Rafael V., et al. (2020). “Design and fabrication of two-row self-propelled paddy transplanter machine.” IEEE Control and System Graduate Research Colloquium (ICSGRC). 173-178.
Worakuldumrongdej, P., Maneewam, T., and Ruangwiset, A. (2019). “Rice seed sowing drone for agriculture.” 19th International Conference on Control, Automation and Systems (ICCAS). 980-985.
ชุติ ม่วงประเสริฐ, พงศ์ศักดิ์ ชลธนสวัสดิ์, รัตนา ตั้งวงศ์กิจ, สมชาย หล่อมหทัธนะกลุ และสานนท์ บุญมี. (2561). “เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแบบเป็นแถวในนาน้ำตมต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ 34 แรงม้า.” การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 6-7 ธันวาคม 2561. 129-135
ไพโรจน์ นะเที่ยง. (2556). “ผลการใช้เทคโนโลยีการหยอดข้าวเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม.” journal of community development research. 6(1). 15-30.
มานพ ดอนหมื่น, โยธิน สุริยมาตร, เจษฎา คำภูมี และ ปริญญวัตร ทินบุตร. (2567). “เครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 9(1). 179-189.
วิสุทธิ์ เลิศไกร และ ปราโมทย์ จิตต์สกูล. (2557). “การศึกษารูปแบบเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว.” เอกสารวิชาการ. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). “ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ สังคมครัวเรือนเกษตร.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/socio-14MAY2019.pdf. สืบค้น 10 มกราคม 2567