เครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก 2) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก 3) เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการขยะออกแบบเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก โดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด อีกทั้งลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นเครื่องต้นแบบให้กับชุมชน เนื่องจากตัวเครื่องบีบอัดขยะมีราคาที่สูง ขนาดใหญ่ และต้องการระบบไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งทำให้กลุ่มชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน ไม่สามารถนำมาใช้กับชุมชนของตนเองได้
ดังนั้นโครงงานวิจัยนี้จึงได้ทำการออกแบบระบบบีบอัดขยะโดยใช้กระบอกไฮดรอลิกขนาด 5 ตัน ระยะชักที่ 1.4 เมตร โดยควบคุมผ่านคอนโทรลวาล์ว 1 แกน และใช้ปั้มน้ำมันไฮดรอลิคที่ถูกขับด้วยมอเตอร์ขนาด 1.5 แรงม้า และในส่วนระบบไฟฟ้าจะออกแบบตู้ควบคุมมอเตอร์ แรงดัน 220 โวลต์ มีโอเวอร์โหลดรีเลย์ป้องกันมอเตอร์ ผลที่ได้จาการทดลองพบว่าตัวเครื่องที่ออกแบบสามารถบีบอัดขวดพลาสติก กระดาษลัง ให้มีปริมาตรลดลงได้กว่า 70 เปอร์เซ็น และระบบที่ออกแบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรมการปกครอง. (2543). คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ส่วนพัฒนา ท้องถิ่น.
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ของประเทศไทย ปี พ.ศ.2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ขวัญชัย สินทิพย์สมบูรณ์. (2557). ไฮดรอลิกอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภัทร พงศ์กิตติคุณ. (2555). นิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วรสุดา ขวัญสุวรรณ และสาทินี วัฒนกิจ. (2563).การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่ง และแฟชั่น:ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.