การออกแบบและสร้างเครื่องปั่นกล้วยสุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการปลูกกล้วยเพื่อการค้าในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่และกล้วยหอมกล้วยแต่ละชนิดอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและโภชนาการที่แตกต่างกันออกไป หากรับประทานเป็นประจำจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากการรับประทานผลสุกของกล้วยหรือนำมาประกอบอาหารแล้ว กล้วยยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมต่างๆ ได้ เช่น กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยอบเนย ทอฟฟี่ แป้งกล้วยและกล้วยในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เป็นต้น งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องปั่นกล้วยสุก เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องปั่นกล้วยโดยการศึกษาเปรียบเทียบ การใช้ใบมีด 2 แบบคือ แบบที่1.ใบมีดแบบตรง มีจำนวน 3 ใบ ความยาวใบด้านบนและความยาวใบด้านล่าง ขนาด 4x21 เซนติเมตร ใบตรงกลาง ขนาด 4x19 เซนติเมตร และแบบที่2.ใบมีดแบบโค้ง มีจำนวน 3 ใบความยาวใบด้านบนและความยาวใบด้านล่างขนาด 4x21 เซนติเมตร ใบตรงกลาง ขนาด 4x19 เซนติเมตร ปลายใบบนงอขึ้น 170 องศา ใบล่างงอลง 170 องศา ความเร็วรอบ 1,450 รอบ/นาที ใช้กล้วยในการทดลอง 5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 1 ลิตร การศึกษาเพื่อหาประสิทธิภาพของใบมีดแบบตรงและแบบโค้ง เพื่อหาเวลาที่ดีที่สุดในการปั่นกล้วยสุกและวิเคราะห์ผลจากการทดลอง ผลการทดลองปั่นกล้วยสุกด้วยเครื่องปั่น ใบมีดแบบที่ 2 มีประสิทธิภาพดีที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด เวลาในการปั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 46.08 วินาที ปริมาณกล้วยที่ไม่ถูกปั่น เฉลี่ยอยู่ที่ 0 กรัม คิดเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ใช้กล้วยในการทดลอง 5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำหนักกล้วยรวมน้ำหนักของน้ำเท่ากับ 6 กิโลกรัม หลังปั่นกล้วยสุกด้วยเครื่องปั่นเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 6 กิโลกรัม คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร กล้วย (2559) เข้าถึงได้จาก : http://www.doa.go.th/hort/images/stories/statushort/hy2557/banana.pdf สืบค้น 17 มกราคม 2566
เบญจมาศ ศิลาย้อย พันธุ์กล้วยเมืองไทย (2559) เข้าถึงได้จาก :
http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/banathai.pdf สืบค้น 17 มกราคม 2566
วิชัย หฤทัยธนาสันต์ การใช้ประโยชน์และการแปรรูปกล้วย (2559) เข้าถึงได้จาก:
http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/fruit2.pdf สืบค้น 9 มกราคม 2566
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ การแปรรูปกล้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (2559) เข้าถึงได้จาก :
http://www.dss.go.th/images/applied-research/2557/04- สืบค้น 9 มกราคม 2566
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (2535) เข้าถึงได้จาก :
http://202.29.80.44/information/banana food/file/dessert_001.pdf สืบค้น 9 มกราคม 2566
อธิรัช ลี้ตระกูล1 จีระศักดิ์ พิศเพ็ง2 วิชัย แหวนเพชร3 และอัษฎา วรรณกายนต์4* (2567, มกราคม-มิถุนายน).
“การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุรินทร์. 9(1) : 126-139.
สุนทร สุทธิบาก1* สันติ ป้อมสุวรรณ2 และสันติ โคตรหลักเพชร3 (2562) “การพัฒนาเครื่องกวนมะม่วงสุกชนิดให้ความร้อนด้วยแก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้ในชุมชน”การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33. วันที่ 2-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จังหวัดอุดรธานี : AMM-004
อัศวิน สืบนุการณ์1* ภูเมศร์ นิยมมาก2 วัชรากรณ์ จันโสม3 นันทพัทธ ปัดภัย4 (2564, มกราคม-มิถุนายน). “การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร”วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุรินทร์. 6(1) : 1-7.
วราภรณ์ จันทร์เวียง1* ธาริณี มีเจริญ2 (2564, มกราคม-มิถุนายน). “การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของปัจจัยความเร็วรอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องสับย่อยใบไม้จากการปรับขนาดมู่เล่ตาม” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 6(1) : 17-27.
รณฤทธิ์ จันทร์ศริ1* และอธิกา จันทนปุ่ม2 (2563) “การพัฒนาเครื่องกวนไส้ขนมกะหรี่ปั๊บชนิดให้ความร้อนด้วยแก๊สปิโตรเลี่ยมเหลวสำหรับใช้ในชุมชน” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 8 (1) : 75-87