การใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพ กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ศุภชัย แก้วจันทร์
สุมณฑา จีระมะกร
ขนิษฐา สีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า กิจกรรมการท่องเที่ยว จัดอยู่ในประเภทการท่องเที่ยว สาขาการท่องเที่ยวชุมชน มีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น 10 ด้านได้แก่ 1) เป็นต้นกำเนิดของรำกะโน๊บติงต็อง หรือรำตั๊กแตนตำข้าว 2) ผ้าไหมทอจากเส้นไหมชั้นหนึ่งหรือไหมน้อย ที่มีความละเอียดปราณีต และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหม OTOP 4 ดาว 3) เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV โดยกระทรวงอุตสาหกรรม 4) มีหลักสูตรภาษาเขมรถิ่นไทย ที่ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยมหิดล และได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของท้องถิ่น 5) ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นด้านการส่งเสริม และรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยกระทรวงวัฒนธรรม 6) เป็นชุมชนวัฒนธรรมไทย-เขมร วิถีชีวิต ภาษา อาหาร และดนตรีกันตรึมพื้นบ้าน 7) มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ ได้แก่ กิจกรรมทำผ้าบิดย้อมจากสีธรรมชาติ และกิจกรรมทำอาหารพื้นถิ่น 8) พิธีบายศรีสู่ขวัญแบบวัฒนธรรมไทยเขมรเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลก่อนเริ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว 9) เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ปราสาทบ้านไพล เป็นศาสนาสถานในชุมชน 10) ได้รับรางวัล DASTA AWARD สาขาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในปี 2019 จัดโดย อพท. ชุมชนใช้เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นมาเป็นฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวรวมทั้งหมด 5 ฐานกิจกรรมได้แก่ 1) ฐานกิจกรรมการทำผ้าไหมบิดย้อมจากภูมิปัญญา 2) ฐานกิจกรรมการทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น 3) ฐานกิจกรรมชมและร่วมการละเล่นพื้นบ้านการรำกะโน้บติงต็อง  4) ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเขมรถิ่นไทย และ 5) ฐานกิจกรรมบ้านพักโฮมสเตย์ชุมชนโพธิ์กอง และมีการเสริมฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มช่องทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวให้ชุ่มชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสรุปเป็นต้นแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์


                        ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในมิติของ  ชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง  ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว การสะท้อนอัตลักษณ์   โอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว  และแนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ พบว่า ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อ ต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์  บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์   โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.40)   เมื่อพิจารณาจำแนกเป็น  รายด้าน  พบว่า  ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อ ต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์  บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 1) ด้านชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง  ( = 4.67, S.D. = 0.47)  2)  ด้านแนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ ( = 4.55, S.D. = 0.35) 3) ด้านลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว ( = 4.51, S.D. = 0.35) 4) ด้านโอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว (  = 4.9, S.D. = 0.32)  5) ด้านการสะท้อนอัตลักษณ์   (  = 4.40, S.D. = 0.49)  สรุปผลข้อเสนอแนะความคิดเห็นของชุมชน ที่มีต่อต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  ตอนที่ 2 พบว่า ไม่มีผู้ให้ข้อเสนอแนะในด้านชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง  ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว การสะท้อนอัตลักษณ์   และ  แนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ  ส่วนด้านโอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว มี 1 ข้อคือ  1) ควรมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์กับชุมชนในทุกด้านทุกสื่อช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชานนท์ บุนนท์ และคณะ. (2558). การวิจัยและพัฒนาเครื่องเตรียมเส้นไหมเพื่อมัดหมี่.

ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

พิชิต ฤทธ์จริ ูญ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎพระนคร.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติ สำหรับประเทศ

ไทย. วารสารม.ศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 ก.ค.- ธ.ค. 2556

รัตติยา เหนืออำนาจและคณะ. (2562). การพัฒนาตัวแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัด

นครสวรรค์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิรินาถ ปิ่นทองพันธ์. (2546). การรับรู้และการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ของนักศึกษาภาคใต้

ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นศ.บ. (สาขาวิชาวาทวิทยาภาควิชาวาทวิทยและสื่อสารการแสดง)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทาง

ปฏิบัติ. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.