การพัฒนาระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และ 2) ตารางทดสอบประสิทธิภาพระบบ ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบสำหรับการจัดการข้อมูลประจำตัวของแมวและเจ้าของแมว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยี QR Code เพื่อเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบประกอบด้วย ชื่อ เพศ อายุ สายพันธุ์ ลักษณะเด่นของแมว และข้อมูลเจ้าของแมว เช่น ชื่อ ที่อยู่ และช่องทางการติดต่อ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทันทีผ่านการสแกน QR Code งานวิจัยนี้ได้นำโมเดล ADDIE มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้และเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพระบบ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย 1) ผลการพัฒนาระบบ พบว่า ได้ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการข้อมูล และสามารถแสดงข้อมูลแมวและเจ้าของแมวที่จำเป็นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดที่ใช้งานกับอุปกรณ์ได้หลากหลายผู้พบเห็นแมวสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อแจ้งการพบแมว หรือนำส่งแมวคืนเจ้าของได้ และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงคิวอาร์โค้ดไปยังข้อมูลประจำตัวของแมว, การเชื่อมโยงไปยังช่องทางการติดต่อกับเจ้าของแมว และการเชื่อมโยง ไปยังแผนที่ที่อยู่เจ้าของแมวในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์
Article Details
References
กิตติกวิน ตาวงศ์ และพงศกร วงศ์กระจ่าง. (2560). การประยุกต์ใช้ QR code และ Barcode บนฉลากยา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา
จิตต์สุภา ฉิน (ซู่ชิง). (2566). “เทคโนโลยีสัตว์เลี้ยง PeTech กำลังมาแรง”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.matichonweekly.com/column/article_227367 สืบค้น 20 ธันวาคม 2566.
ทรู มูฟ เฮช. (2566). “Pet Tracker อุปกรณ์ติดตามสัตว์เลี้ยง รุ่น GTS P34-4G”.
[ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก : https://www.wemall.com/d/L91766448 สืบค้น 23 กันยายน 2566.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
ดินาร์ บุญธรรม. (2563). “ตำราดูแมว”. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก : https://wow.in.th/2M20Q. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.
นิคม ลนขุนทด อัษฎา วรรณกายนต สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม และ สุชาติ ดุมนิล. (2563). การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด สำหรับข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผักอินทรีย์. สุรินทร์ : กองทุนสนับสนุนการวิจัย ปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
โมโกสมาร์ท. (2565). “10 แอปพลิเคชัน IoT สำหรับอุปกรณ์ติดตามสัตว์เลี้ยง”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.mokosmart.com/th/iot-applications-for-
pet-tracking-devices/ สืบค้น 20 สิงหาคม 2566.
น้ำฝน แสงอรุณ และพรรณี คอนจอหอ. (2561, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 2(1) : 115-122.
สมคิด ปราบภัย. (2566). “EDURA: ระบบสารสนเทศสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า สู่โรงเรียนและชุมชน”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : htps://thaiedura.com/app/ สืบค้น 23 กันยายน 2566.
สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์ และเอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล. (2565, ตุลาคม–ธันวาคม). แอ็ปพลิเคชันตามหาสัตว์เลี้ยงหายด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม. 15(4) : 75-87.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). “QR Code คืออะไร”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://qrgo.page.link/Xp4Uk สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.
อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2561). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสัตว์เลี้ยง.วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 1(2) : 112-124.
PETCITIZ.INFO. (2566). “10 สายพันธุ์แมวที่คนไทยนิยมเลี้ยง”. [ออนไลน์] เข้าถึงได็จาก : https://bit.ly/37GbO4B สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.
McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD) : Using the ADDIE Model. Instructional Design Models. 226(14).
HOBBY QR . (2566). Smart Tag One ป้ายชื่อหมาแมวอัจฉริยะ. [ออนไลน์] เข้าถึงได็จาก : https://product.hobbyqr.com/ สืบค้น 24 กันยายน 2566.
TechTalkThai. (2559). Connected Cow & Dog: เมื่อวัวกับสุนัขกลายเป็นส่วนหนึ่งของ IoT โดย Fujitsu #Microsoft #WPC16. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.techtalkthai.com/connected-cow-and-dog-by-fujitsu-in-microsoft-wpc16/ สืบค้น 23 กันยายน 2566.