ชุดรีดวัตถุดิบสำหรับการลำเลียงเข้าห้องคัดแยกใบรางจืด

Main Article Content

พงศ์ไกร วรรณตรง
ภานุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีการคัดแยกใบรางจืดสำหรับใช้ในศูนย์วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปบ้านกันตรวจระมวล มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเครื่อง ได้แก่ โครงสร้างเครื่อง ชุดใบมีดข้อเหวี่ยงอิสระหนา มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลังและส่งกำลังด้วยสายพาน ชุดรีดวัตถุดิบ และตะแกรงคัดแยก โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเร็วรอบของชุดรีดวัตถุดิบ 3 ระดับ (8 รอบ/นาที, 12 รอบ/นาที, 16 รอบ/นาที) และศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีการคัดแยกใบรางจืด


          จากการศึกษา พบว่า เมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 8 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 932.78 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 93.25 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 33.18 นาที เมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 12 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 927.34 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 92.72 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 23.51 นาที และเมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 16 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 909.25 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 90.90 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 21.45 นาที จากการทดสอบความเร็วรอบชุดรีดทั้ง 3 ระดับ พบว่าระดับที่กลุ่มแปรรูปสมุนไพรมีความต้องการคือความเร็วรอบชุดรีดที่ 12 รอบ/นาที โดยพิจารณาจากความละเอียดของสมุนไพร เวลาที่ใช้ในการคัดแยก และเถารางจืดเจือปนน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สู่การเป็น smart officer : สมุนไพรและ

เครื่องเทศ. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). “พืชสมุนไพรภูมิปัญญาไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/12/. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566.

กองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2566). “มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566.

มานพ ตันตระบัณฑิตย์. (2560). การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1. สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี

(ไทย-ญี่ปุ่น).

เอกสิทธิ์ ศรีธรรม และ อำนาจ คูตะคุ. (2565). “การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดปลากะตักแห้ง”.

การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และ

วิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : 499-506.