เครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนในเมล็ดพันธุ์ข้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่เกษตรกรเก็บไว้ในการเพาะปลูกนั้นจำเป็นต้องผ่านการคัดแยกสิ่งเจือปน เช่น แกลบ หิน ดิน ทรายและฝุ่นต่างๆ บทความนี้นำเสนอการจัดสร้างเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนเพื่อความสะดวกในการคัดแยกสิ่งเจือปนดังกล่าวออกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก โดยเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวเครื่องนี้ ใช้ระบบตะแกรงแบบโยกร่อน 2 ตะแกรง 3 ชั้น ในการคัดแยก โดยชั้นที่ 1 เป็นตะแกรงรูวงรียาวใช้คัดแยกสิ่งเจือปนที่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดข้าวเปลือก ชั้นที่ 2 เป็นตะแกรงรูกลมที่รองรับเมล็ดข้าวเปลือก และชั้นที่ 3 เป็นถาดรองเศษสิ่งเจือปนที่มีขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าวเปลือกซึ่งจะตกมาจากตะแกรงชั้นที่ 2 โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนระบบเครื่องยนต์หรือแรงคน โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่ได้ทำการคัดแยกสิ่งเจือปนหลังจากเก็บเกี่ยวจากท้องนาจะถูกนำมาคัดแยกเพื่อให้เมล็ดพันธ์ข้าวมึความสะอาดด้วยเครื่องคัดแยก ทำการผสมสิ่งเจือปนที่ได้จากการคัดแยกกลับลงไปในเมล็ดพันธ์ข้าวด้วยอัตราส่วน 9:1 แล้วทำการคัดแยกด้วยเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปน พบว่าให้ผลการคัดแยกสิ่งเจือปนได้เฉลี่ย 83.8 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดระยะเวลา ลดแรงงานคนและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้เครื่องยนต์ รวมถึงมีตัวครอบสายพานทำให้มีความปลอดภัยขณะเครื่องกำลังทำงาน ทั้งนี้ยังสามารถวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า ได้แก่ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ค่า Power Factor และคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าได้ โดยทำการทดลองหาขนาดแรงม้าของมอเตอร์ในการใช้งาน เพื่อให้ได้มอเตอร์ที่เหมาะสม และทำให้ได้พันธุ์ข้าวที่สะอาดเหมาะแก่เกษตรกรนำไปเพาะปลูก
Article Details
References
วราภรณ์ ชนะพรมมา. (2565, มกราคม). “การศึกษาปัจจัยของเครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยวิธีการ
ออกแบบการทดลอง.” วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 5(1) : 40-47.
รพีพรรณ เหล็กหมื่นไวย. (2562,กรกฎาคม.) “การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์
ข้าวในครัวเรือน.” วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 1(2) : 36-46.
ประเสริฐศักดิ์ ภักดีวงษ์ และคณะ. (2560). “การพัฒนาเครื่องคัดแยกกรวดในกระบวนการสีข้าวขนาดเล็ก.”
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 156-163.
จาริณี จงปลื้มปิติ และคณะ. (2561,มกราคม). “การออกแบบและสร้างเครื่องคัดแยกข้าวตอก.”
วารสารเกษตรพระวรุณ 15(1) : 229-237.
ภาคภูมิ แก้วกระจ่าง และคณะ (2561.), การศึกษาเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากข้าวเปลือก, ปริญญานิพนธ์
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.
K.J. Simonyan and Y.D. Yijiep (2018.) “Investigating Grain Separation and Cleaning Efficiency Distribution of a Conventional Stationary Rasp-bar Sorghum Thresher”, Agricultural
Engineering Department, Michael Okpara University of Agriculture, P M B 7267.
Umudike-Umuahia. Nigeria. 1-12.
C.C. HUELMA, K. MOODY and T.W. MEW (1996.) “ Weed seeds in rice seed shipments : a case study”, International Rice Research institute, PO Box 933, Manila, Philippines, 147-150.