การวัดค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นด้วยลูกตุ้มแท่งกลมที่มีคาบน้อยที่สุด

Main Article Content

สายชล สิทธิพงศ์
บัญชา ค้งตระกูล

บทคัดย่อ

ในบทความนี้ได้นำเสนอผลลัพธ์ของการหาค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นโดยใช้ลูกตุ้มแท่งกลมที่มีคาบน้อยที่สุดเป็นมาตรความโน้มถ่วง โดยการศึกษาใช้ลูกตุ้มแท่งกลมที่มีความยาวแตกต่างกันจำนวน 5 แท่ง ทดลอง ณ ตำแหน่งตั้งที่เส้นรุ้ง 18°39’43’’ N และอยู่ที่ระดับความสูง 300 m AMSL ผลลัพธ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โดยใช้การจับเวลาในการแกว่งของลูกตุ้มจำนวน 100 รอบ โดยใช้มุมเริ่มต้นไม่เกิน 2° จำนวน 12 ซ้ำ จะได้ค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นจากการทดลองด้วยลูกตุ้มแบบแท่งกลมที่มีคาบน้อยที่สุดเป็น 9.800 ± 0.008 m/s2 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนเทียบกับค่าคำนวณ 9.7847 m/s2 ประมาณ 0.2 %

Article Details

How to Cite
[1]
สิทธิพงศ์ ส. . และ ค้งตระกูล บ., “การวัดค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นด้วยลูกตุ้มแท่งกลมที่มีคาบน้อยที่สุด”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 20, ฉบับที่ 2, น. 44–45, ต.ค. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

ณภาคม ศรีคช, สายชล สิทธิพงศ์, และบัญชา ค้งตระกูล. (2564). การหาค่าความเร่งจากความโน้มถ่วงท้องถิ่นด้วยลูกตุ้มเดี่ยว. ในการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13. (2593-2604). 25-28 ธันวาคม 2564. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ทัศนีย์ ไพรรื่นรมย์ และณัฐนันท์ วรเดช. (2023). การวัดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกในประเทศไทย และความสำคัญ. สืบค้น 17 ธันวาคม 2566, จาก: https://www.nimt.or.th/main/?p=21307.

Nelson, R.A., Olsson, M.G,. (1986). The pendulum-Rich physics from a simple system. American Journal of Physics. 54(2): 112-121.

Yuningsih, N., Sardjito, S., & Dewi, Y. C. (2020). Determination of earth's gravitational acceleration and moment of inertia of rigid body using physical pendulum experiments. Retrieved on December 17, 2023. from: doi:10.1088/1757-899X/830/2/022001

Suwanpayak, N., Sutthiyan, S., Kulsirirat, K., Srisongkram, P., Teeka, C., & Buranasiri, P. (2018). A comparison of gravitational acceleration measurement methods for undergraduate experiment. Retrieved on December 17, 2023. from: doi:10.1088/1742-6596/1144/1/012001.

Beer, F.P, Johnston, E.R, & Conwell, P.J. (2010). Vector Mechanics for Engineers: Dynamics. 9th ed. London: McGraw-Hill

Serway, R.A., & Jewett, J.W. (2012). Physics for scientists and engineers with modern Physics. 9th ed. Boston: Brooks/Cole.

Young, H., & Freeman, R. (2004). University physics with Modern Physics. 11th ed. Boston: Addison Wesley.

Encyclopedia. (2022). Normal Gravity Formula. Retrieved on January 8, 2024. from: https://encyclopedia.pub/entry /33797

บัญชา ค้งตระกูล และสายชล สิทธิพงศ์. (2566). การสืบค้นหาสูตรการคำนวณค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่น. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1): 161-173.