การประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์และการหาสูตรผลิตสารละลายกรดไฮโปคลอรัส เพื่อการฆ่าเชื้อโรคสำหรับใช้ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

ภัทรพล คงสุข
สุทธบถ ซื่อมาก

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์และหาสูตรผลิตสารละลายกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) จากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีด้วยวิธีอิเล็กโทรลิซิสของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เกิดเป็นสารละลาย  กรดไฮโปคลอรัสที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคสำหรับใช้ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) โดยผู้วิจัยได้ประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ขนาดถังความจุ 12 ลิตร พร้อมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ส่วนประกอบและสารที่ใช้ ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของสารละลายที่หาซื้อได้ง่ายและต้นทุนต่ำ จากนั้นทำการหาสูตรผลิตที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นคู่มือของชุดอุปกรณ์นี้ ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่อใช้สูตรที่เตรียมสารละลายตั้งต้น คือ (1) น้ำประปา รร.จปร. ปริมาตร 10 ลิตร (2) เกลือโซเดียมคลอไรด์ 1%w/v และ (3) น้ำส้มสายชู (5% กรดแอซิติก) 0.3%v/v แล้วให้ไฟฟ้ากระแสตรง 12V, 5A เป็นเวลาอย่างน้อย 35 นาที จะได้สารละลายกรดไฮโปคลอรัสที่ความเข้มข้นของคลอรีนที่มีค่าอยู่ (ACC) ที่ 200 ppm ค่า pH 4.51 ซึ่งค่า pH ที่ได้พบว่าอยู่ในรูป HOCl ทั้งหมดหรือคิดเป็นร้อยละร้อยของคลอรีนที่มีค่าอยู่ (100%ACC) และมีค่าความต่างศักย์ของการออกซิไดซ์-การรีดิวซ์ (ORP) มีค่า +934 mV ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียงพอในการฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นชุดอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นพร้อมสูตรผลิตสามารถนำมาใช้งานได้

Article Details

How to Cite
[1]
คงสุข ภ. และ ซื่อมาก ส., “การประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์และการหาสูตรผลิตสารละลายกรดไฮโปคลอรัส เพื่อการฆ่าเชื้อโรคสำหรับใช้ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”, NKRAFA J SCI TECH, ปี 20, ฉบับที่ 2, น. 83–97, พ.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. (2020). Cleaning and disinfection of environmental surfaces in the context of COVID-19: Interim guidance 15 May 2020. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/1277966/retrieve

Rahman, S. M. E., Khan, I., & Oh D.-H. (2016). Electrolyzed Water as a Novel Sanitizer in the Food Industry: Current Trends and Future Perspectives. Compr. Rev. Food Sci. Food Saf., 15: 471–490.

นวลใย ญารักษา, ชัดชัย แก้วตา, ศุภาวีร์ มากดี และ ธีระ สาธุพันธ์. (2564). ประสิทธิภาพของน้ำอิเล็กโทรไลต์ชนิดกรดในการฆ่าเชื้อโรค. วารสารเกษตรพระวรุณ. 18(2): 41–48.

Block, M. S., & Rowan, B. G. (2020). Hypochlorous Acid: A Review. J. Oral Maxillofac. Surg., 78: 1461–1466.

Farah, R. I., & Al-Haj Ali, S. N. (2021). Electrolyzed Water Generated On-Site as a Promising Disinfectant in the Dental Office During the COVID-19 Pandemic. Front. Public Health, 9: 1–5.

Takeda, Y., Matsuda, S., Jamsransuren, D., & Ogawa, H. (2021). Comparison of the SARS-CoV-2-Inactivating Activities of the Differently Manufactured Hypochlorous Acid Water Products with Various pH. J. Water Health., 19(3): 448–456.

HydroVoltage. (2021). ผลิตน้ำไฮโปคลอรัสเอซิดเองที่บ้านต่อสู้โควิด19. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://fliphtml5.com/th/libqk/vwmk/basic

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์. (2564). นักวิจัย ม.อ. ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่ชุมชน [ข่าวในสื่อ]. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://www.sci.psu.ac.th/wp-content/uploads/2021/05/นักวิจัยม-อ-ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19-พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน-.pdf

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. (2564). คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส (HYPOCHLOROUS ACID) ใช้แทนแอลกอฮอล์ [ข่าววิทยาเขต]. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://kps.ku.ac.th/v8/index.php/th/news-all/kps-news/1515-คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์-ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากกรดไฮโปคลอรัส-hypochlorous-acid-ใช้แทนใช้แทนแอล

คลอริน็อกซ์. (ม.ป.ป.). เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรค HOCl ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ 99.5%. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://chlorinox.co/products/

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (ม.ป.ป.). ระบบทำน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยกรดไฮโปคลอรัสเข้มข้นจากน้ำเกลือด้วยกระบวน การอิเล็กโทรลิซิส [ข่าวสาร]. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://www.pbru.ac.th/pbru/news/15290

Hypo Source. (2021). NEW Hypo 7.5 Hypochlorous Acid Generator. Make 2 gallons HOCl in 8 minutes. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://hyposource.com/collections/hypochlorous-acid-generators/products/hypo-7-5

YouTube, เผือกไปกับช่าง Channel. (2563). สอนทำน้ำไฮโปคลอรัสฆ่าเชื้อโควิด-19 ตายใน 10 วินาที ผ่านแท่งแกรไฟต์. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://www.youtube.com/watch?v=qNtOUkAeRBs&t=20s

Sukwaree, J., Srisungwan, P., Sirivej, T., Thongsri, S., & Khongton, N. (2021). Hypochlorous Acid Solution Generator Prototype for Disinfection. (Cadets’ Research Project Report, Chulachomklao Royal Military Academy).

Pawongjit, K., Sathaworn, K., Rittidech, T., & Wilailoy, N. (2022). Using Acids to Control pH for Producing Hypochlorous Acids Solution. (Cadets’ Research Project Report, Chulachomklao Royal Military Academy).

Agricultural Marketing Service. (2015). Hypochlorous Acid Petition [Unpublished Manuscript]. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://www.ams.usda.gov/sites/default/files/media/Hypochlorous%20Acid%20Petition.pdf

Al-Haq, M. I., Sugiyama, J., & Isobe S. (2005). Applications of Electrolyzed Water in Agriculture and Food Industries. Food Sci. Technol. Res., 11(2): 135–150.

วิยดา กวานเหียน, ดลฤดี ตวงสิน และ สุนิษา ฐานะภักดี. (2562). คุณสมบัติการฆ่าเชื้อก่อโรคของน้ำออกซิไดซ์. วารสารพิษวิทยาไทย. 34(1): 53–69.

Agency for Toxic Substances and Disease Registry. (2010). Toxicological Profile for Chlorine: 4. Chemical and Physical Information. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://www.atsdr.cdc.gov/ToxProfiles/tp172-c4.pdf

World Health Organization. (2020). Hypochlorous Acid (HOCl) for disinfection, antisepsis, and wound care in. Core Categories 15.1, 15.2, and 13. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://cdn.who.int/media/docs/default-source/essential-medicines/2021-eml-expert-committee/applications-for-addition-of-new-medicines/a.18_hypochlorous-acid. pdf?sfvrsn=35222172_4

Guentzel, J. L., Lam, K. L., Callan, M. A., Emmons, S. A. & Dunham, V.L. (2008). Reduction of bacteria on spinach, lettuce, and surfaces in food service areas using neutral electrolyzed oxidizing water. Food Microbiol., 25: 36–41.

Wang, L., Bassiri, M., Najafi, R., Najafi, K., Yang, J., Khosrovi, B., Hwong, W., Barati, E., Belisle, B., Celeri, C., & Robson M. C. (2007). Hypochlorous Acid as a Potential Wound Care Agent: Part I. Stabilized Hypochlorous Acid: A Component of the Inorganic Armamentarium of Innate Immunity. J. Burns Wounds. 11; 65–79.

Aquaox. (2019). Welcome to the Next Generation of Infection Control. Retrieved on Jun 20, 2021, from https://www.aquaox.com/wp-content/uploads/2019/03/Aquaox-ICS-Introduction.pdf

Stevenson, S. M. L., Cook, S. R., Bach, S. J., & Mcallister, T. A. (2004). Effects of Water Source, Dilution, Storage, and Bacterial and Fecal Loads on the Efficacy of Electrolyzed Oxidizing Water for the Control of Escherichia coli O157:H7. J. Food Prot., 67(7): 1377–1383.

Hao, X. X., Li, B. M., Wang, C. Y., & Cao, W. (2013). Application of Slightly Acidic Electrolyzed Water for Inactivating Microbes in a Layer Breeding House. Poult Sci., 92(10): 2560–2566.

ประกาศกรมอนามัย. (2543). เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปา. สืบค้น 20 มิ.ย. 2564, จาก https://www.metlaboratory.com/ album/law/pdf/76ed7168141b2288e444611cd52d0114.pdf