ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน โดยใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการบริโภคอาหารของคนไทย แบบสอบถามจำนวน 45 ข้อได้ถูกรวบรวมจากคนไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 400 คนผ่านช่องทางออนไลน์ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนอย่างเคร่งครัด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตัวเลือกอาหารส่งผลโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยความสะดวกสบายส่งผลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อตัวเลือกอาหารมากที่สุด ตามมาด้วย ความอยากอาหาร การรับรู้ถึงภัยอันตราย การรับรู้ถึงความเปราะบาง และ เงื่อนไขสุขภาพ อย่างไรก็ตามผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า งบประมาณไม่ส่งผลโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อตัวเลือกอาหารในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ผนวกรวมแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค และทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเข้าด้วยกัน อนึ่งงานวิจัยนี้อาจนำไปใช้เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของคนไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์กับทางภาครัฐในการบรรเทา และลดความเสี่ยงจากโรคระบาดได้อย่างเป็นรูปธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ ก่อนเท่านั้น
References
องค์การอนามัยโลก. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [ออนไลน์]. 2022, แหล่งที่มา: https://covid19.who.int [20 มิถุนายน 2565].
นลินี พานสายตา, จตุพล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา, และ ประวีณา คาไซ, “ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการซื้ออาหารเดลิเวอรี่ออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายและแซดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”, วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปี 8, ฉบับที่ 2, หน้า 17–33.
Julawong, O. (2014). Motivation Prevention and Health Behaviors of the Thai Army Conscripts. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 28-32.
Chamroonsawasdi, K., Chottanapund, S., Pamungkas, R. A., Tunyasitthisundhorn, P., Sornpaisarn, B., & Numpaisan, O. (2021). Protection motivation theory to predict intention of healthy eating and sufficient physical activity to prevent Diabetes Mellitus in Thai population: A path analysis. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 15(1), 121-127.
Prasetyo, Y., Tanto, H., Mariyanto, M., Hanjaya, C., Young, M., Persada, S., . . . Redi, A. A. N. P. (2021). Factors Affecting Customer Satisfaction and Loyalty in Online Food Delivery Service during the COVID-19 Pandemic: Its Relation with Open Innovation. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 7, 76. doi:10.3390/joitmc7010076
วรรัตน์ แขกธูป. (2553) พฤติกรรมการซื้อซ้ำกะทิสำเร็จรูป [Aroy-D] การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/RU.the.2010.401
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. 2557. ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความภักดีของนักท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 34 ฉบับที่ 2. หน้า 131-146.
Prasetyo, Y., & Vallespin, B. (2021). Determining Factors Affecting the Acceptance of Grab Application in the Philippines using UTAUT2 Approach.
Suksawang, P. (2014). The basics of structural equation modeling. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(2), 136-145.
Budhathoki NK, Paton D, Lassa JA, Zander KK. Assessing farmers’ preparedness to cope with the impacts of multiple climate change-related hazards in the Terai lowlands of Nepal. International Journal of Disaster Risk Reduction. 2020;49:101656.
Chai D, Wang M, Liu K. Driving factors of natural disasters in belt and road countries. International Journal of Disaster Risk Reduction. 2020;51:101774.
Prasetyo YT, Senoro DB, German JD, Robielos RAC, Ney FP. Confirmatory factor analysis of vulnerability to natural hazards: A household Vulnerability Assessment in Marinduque Island, Philippines. International Journal of Disaster Risk Reduction. 2020;50:101831.
Prasetyo YT, Tanto H, Mariyanto M, Hanjaya C, Young MN, Persada SF, et al. Factors affecting customer satisfaction and loyalty in online food delivery service during the COVID-19 pandemic: Its relation with open innovation. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity. 2021;7(1):76.
Ong, A. K., Prasetyo, Y., Libiran, M., Lontoc, Y., Lunaria, J., Manalo, A., . . . Redi, A. A. N. P. (2021). Consumer Preference Analysis on Attributes of Milk Tea: A Conjoint Analysis Approach. Foods, 10, 1382. doi:10.3390/foods10061382
สมหญิง จันทร์อบ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโมบายแอปพลิเคชันในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์โควิด–19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-8/6114154069.pdf
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. 2564. การรับมือทางด้านจิตใจกับการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงการระบาดของโควิด-19: คำบอกเล่าของผู้หญิงบนอินสตาแกรม. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 38 ฉบับที่ 103 มกราคม – มิถุนายน 2564. หน้า 248-259.
อกนิษฐ์ เชยคาดี และชญาทัวร์ กี่อาริโย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารติ่มซา อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2561). หน้า 39-58.
วิทยา ศรีดามาและคณะ. 2533. การลดหรือเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ยา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 34(2). 154-162.
Spence, C., Okajima, K., Cheok, A. D., Petit, O., & Michel, C. (2016). Eating with our eyes: From visual hunger to digital satiation. Brain and Cognition, 110, 53-63. doi: https://doi.org/10.1016/j.bandc.2015.08.006
Chen, M.-F. (2016). Extending the protection motivation theory model to predict public safe food choice behavioral intentions in Taiwan. Food Control, 68, 145-152. doi: https://doi.org/10.1016/j.foodcont.2016.03.041
Nonthapha, S., & Navicharern, R. (2017). Factors Related to Protection Motivation Theory and Breast Cancer Prevention Behavior among Teachers in Provincial School, Central Region. Kuakarun Journal of Nursing, 24(2), 23-35.
พัชรพร เจริญประชา, สุดารัตน์ ศรีมูล, เหมหงส์ อ่อนชื่อจิตร และนิรัตน์ฌา เรืองสินทร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (393 - 402). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Prasetyo, Y. T., & Vallespin, B. E. P. (2021, April). Determining Factors Affecting the Acceptance of Grab Application in the Philippines using UTAUT2 Approach. In 2021 IEEE 8th International Conference on Industrial Engineering and Applications (ICIEA) (pp. 594-600). IEEE.
Phanwattana, P. (2019). Food Consumption Behavior of Working Age People in Bangkok. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 26(2), 93-103.
อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, นลินี จงวิริยะพันธุ์, สุภาพรรณ ตันตราชีวธร, ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, นงลักษณ์ ตรีกาลนนท์, ประสงค์ เทียนบุญ และ คณะ. (2548). ทันยุคกับโภชนาการในเด็ก. กรุงเทพฯ:บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช กิติวัฒน์ กิติบุตร และกนกพร เอกกะสินสกุล. (2561). การเล่าเรื่องอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาน้าปูแจ้ห่ม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2561. หน้า 192-213.
เมธิตา วิวิตรกุล เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์ พิมพวัลย์ บุญมงคล และผกามาส ตันวิจิตร. (2563). อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 20 ฉบับที่ 2. หน้า 71-85.
อรพินท์ สีขาว และคณะ. (2561). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.วารสาร มฉก.วิชาการ. ปีที่ 22 ฉบับที่ 43-44 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561. หน้า 1-12.
Jureerat Matthaphan. (2019). Fast Food Consumption Behavior of Teenage Student in Urban Area, Chumphon Province. Journal of Health Sciences Scholarship, 6(1), 45-56.
จามจุรี เรียงศิลป์ชัย. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: แอปพลิเคชั่นไลน์แมน (Lineman), ฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) ,แกร็บฟู้ด (Grabfood). วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563. หน้า 32-48.
สุภาวดี ธงภักดิ์ และ สันติธร ภูริภักดี. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริการของร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ร้านอาหารยามเย็น กรุงเทพมหานคร” ภายใต้สถานการณ์การแพร่รระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564. หน้า 761-772.
เพชรินทร์ อยู่เป็นสุข และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2561). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารประเภทฟู้ดทรัค กรณีศึกษา ในตลาดนัดหัวมุม ถนนเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561.
Witchayapai, W., & Phornprapa, K. (2021). Factor Affecting Consumer Behavior in Using Food Order Through Grab Food Application in Ladkrabang, Bangkok Metropolitan Region. Online, Retrieved February 14, 2022, from http://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS02/PDF01/1297_20210712_12600077___Wachirada_Wichayapai.pdf
Deesuksaeng, P. & Sonprajuk, P. (2021). Adaptation of Street Food COVID-19 situation period in Pak Nam Pho Subdistrict, Mueang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province. 114-131. Online, Retrieved February 14, 2022, from http://www.bec.nu.ac.th/NPSC/files/7%20114-131-A016.pdf.
Stiitchai, K. & Chantuk, T. (2018). Causal Relationship of Factors that Affecting the Customer Loyalty of Healthy Restaurants in Bangkok, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 65-86.
Kuanra-ngub, S. (2014). Behavior modification program for weight control of Payap University personnel. Nursing journal, 41(1), 85-95.
Panya, R., & Chowwanapoonpohn, H. (2014). Effect of provision of nutrition label education on knowledge, behavior and attitude among high school students, Phayao Province, Naresuan Phayao Journal, 7(3), 261-274.
Singweratham, N., Nawsuwan, K., Kheonkaew, B., and Laorngnual, L. (2021). Behaviors and risk perception at workplace to COVID19 transmission among radiological technologist. Dis Control J, 47 (3), 467-478.
Janssen, M., Chang, B., Hristov, H., Pravst, I., Profeta, A., & Millard, J. (2021). Changes in Food Consumption During the COVID-19 Pandemic: Analysis of Consumer Survey Data From the First Lockdown Period in Denmark, Germany, and Slovenia. Frontiers in nutrition, 8, 635859. https://doi.org/10.3389/fnut.2021.635859
Ben Hassen, T.; El Bilali, H.; Allahyari, M.S.; Karabašević, D.; Radosavac, A.; Berjan, S.; Vaško, Ž.; Radanov, P.; Obhođaš, I. Food Behavior Changes during the COVID-19 Pandemic: Statistical Analysis of Consumer Survey Data from Bosnia and Herzegovina. Sustainability 2021, 13, 8617. https://doi.org/10.3390/su13158617
Gefen D, Straub D, Boudreau M-C. Structural equation modeling and regression: Guidelines for research practice. Communications of the association for information systems. 2000;4(1):7.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. Pearson Prentice Hall. New Jersey.
Fornell C, Larcker DF. Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of marketing research. 1981;18(1): 39-50.