การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัจฉริยะในบ้านด้วยระบบไอโอที
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัจฉริยะในบ้านด้วยระบบไอโอที โดยต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน “Water Automic” ซึ่งมีความสามารถสั่งการควบคุมการจ่ายน้ำ นอกจากนี้ยังบันทึกข้อมูลประวัติการใช้น้ำ และคำนวณค่าน้ำประปา ระบบทำงานโดยใช้เซนเซอร์วัดอัตราการไหลของน้ำ วัดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านและส่งข้อมูลไปให้ไมโครคอนโทรเลอร์ ESP32 ประมวลผลและส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังเว็บแอปพลิเคชัน Water Automic เพื่อบันทึกข้อมูล โดยไมโครคอลโทรเลอร์จะตรวจสอบปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเซนเซอร์และเมื่อครบจำนวนที่กำหนดไว้ก็จะสั่งให้โซลินอยวาล์วปิดการทำงาน
โดยทดสอบการทำงานของต้นแบบระบบควบคุมฯนี้ที่ค่าอัตราการไหลของน้ำที่ค่าเฉลี่ย 6.33 ลิตร/นาที พบว่าสามารถควบคุมการเปิด-ปิดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและการทดสอบการกำหนดค่าปริมาณน้ำพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนมากที่สุดคือร้อยละ 20 และน้อยที่สุดคือร้อยละ 2 และระบบฯ สามารถแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดทั้งหมด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
งานน้ำสูญ กองระบบจำหน่าย การประปาส่วนภูมิภาคเขต ๑. โครงการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566. จาก https://rdi.pwa. co.th/images/team/dsm/Water-saving-device/Water-saving-device-P1-1.pdf
ทวีป ตรีหะจินดารัตน์, ทศพร ปั้นจาด และปวรัชฎ์ คชรินท์. อินเตอร์เน็ตกับทุกสิ่งของสวนอัจฉริยะ. [ปริญญานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2559.
ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง, สุมนา บุษบก และคณะ. การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝัง. [ปริญญานิพนธ์]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชมงคล สุวรรณภูมิ; 2563.
บุญธง วสุริย์ และธานิล ม่วงพูล. ระบบควบคุมการให้น้ำสำหรับแพะไล่ทุ่งแบบอัตโนมัติ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 2561; 5(2): 155-156.
ภาคย์ สธนเสาวภาคย์. การวิจัยและพัฒนาระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ. [ปริญญานิพรธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562
ณัฐพล เหลืองสันติมิตร, นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร และจุฑามาศ ชุมลักษณ์. การพัฒนาระบบของไหลในท่อเพื่อการบริหารและเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งและอุปกรณ์ฝังตัว. Thammasat Engineering Journal. 2019; 5(2): 8-9.
จักรกริชชัย บัวสมบูรณ์ และธงรบ อักษร. ระบบการจัดการและตรวจสอบน้ำสำหรับ ที่พักอาศัยด้วยอุปกรณ์เคลื่อน. Journal of Science and Technology Phetchabun Rajabhat University. 2021; 58-59.
จักกริช เกษวิทย์, ภูริเดช เชยโพธิ์, นิธิศ ปิ่น ทอง และคณะ. ระบบเปิด-ปิดน้ำด้วย โทรศัพท์มือถือ. [ปริญญานิพนธ์]. สมุทรปราการ: โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กองวิทยาการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ; 2560
ศิรดา สมอหมอบ, กชกร พิมพาหุ และอิสะ มาสิงห์. ระบบปั๊มน้ำอัจฉริยะ. [ปริญญานิพนธ์]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2557