การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ Nays2DFlood เพื่อศึกษาการลดน้ำหลากในลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการไหลหลากของน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ Nays2DFlood เพื่อจำลองพฤติกรรมทางชลศาสตร์ของน้ำหลากของสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน ได้ใช้ข้อมูลอัตราการไหล วันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2560 ผลจากการศึกษาพบว่า แบบจำลองคณิตศาสตร์ Nays2DFlood สามารถจำลองพฤติกรรมการไหลและการกระจายตัวของน้ำท่วมมีระดับผิวน้ำหรือคราบน้ำนั้นใกล้เคียงกับสถานการณ์น้ำท่วมจริง โดยเลือกศึกษากรณี จำนวน 3 กรณี ประกอบด้วย 1.) สถานการณ์ในปัจจุบัน 2.) มีการขุดลอกทางน้ำ 3.) มีการขุดลอกทางน้ำและขุดแก้มลิง จากการศึกษาพบว่าในบริเวณพื้นที่ที่ศึกษา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาพบว่า กรณีที่ 2 ขุดลอกทางน้ำทำให้ค่าระดับน้ำลดลงจากกรณีที่ 1 สถานการณ์ณ์ปัจจุบันได้ 0.62 เมตร และกรณีที่ 3 ขุดลอกทางน้ำและขุดแก้มลิงทำให้ค่าระดับน้ำลดลงจากกรณีที่ 1 สถานการณ์ณ์ปัจจุบันได้ 0.77 เมตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ. บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ช่วงเดือนตุลาคม 2560. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ23 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://tiwrmdev.hii.or.th/curre nt/ 2017/floodOct2017/floodOct2017.html
จิรัฏฐวัฒน์ เมืองแพน. การศึกษาการลดน้ำหลากสูงสุดในลุ่มน้ำเลย โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ Nays2DFlood. [ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2557.
คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ. โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ23 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tiwrm.hii.or.th/web/attachments/25basins/12-pasak.pdf
ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ. ลุ่มแม่น้ำป่าสัก. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ23 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://rain making.royalrain.go.th/ Data/Basin /detail/12
สนิท วงษา และ ยาสุยูกิ ชิมิซึ. การประยุกต์ใช้โปรแกรม iRIC ในการคำนวณด้านชลศาสตร์และพลวัติสัณฐานท้องน้ำ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3; วันที่ 6-7 สิงหาคม 2552; นครนายก; 2552. น.106-115
จุฑามาศ ดิษฐ์ทอง สนิท วงษา และ เมธินี สุภหัสดิ์. การประยุกต์ใช้แบบจำลอง iRIC เพื่อศึกษามหาอุทกภัยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างปี 2554 กรณีศึกษา พื้นที่จังหวัดอ่างทอง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 23; วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561; นครนายก; 2561