บาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอางจากสารสกัดเปลือกมะเขือเทศราชินี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอาง โดยใช้ส่วนเปลือกของมะเขือเทศราชินี (Solanum lycopersicum L.) มาทำการสกัดด้วยวิธีการหมักในตัวทำละลายเฮกเซน ได้ร้อยละผลผลิตของสารสกัดหยาบเท่ากับ 11.6 ± 0.328 จากการศึกษาปริมาณฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 348.20 ± 87.70 mg Gallic acid /g extract, 156.80 ± 0.33 mg Quercetin /g extract ตามลำดับ นอกจากนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รายงานผลด้วยค่า IC50 พบว่าสารสกัดมีร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ เท่ากับ 0.49 µg/ml ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอาง โดยใช้สารสกัดเปลือกมะเขือเทศราชินีที่ความเข้มข้นต่างกันพบว่า ตำรับที่มีสารสกัด 2% w/w ทำความสะอาดเครื่องสำอางได้ดีกว่าและมีความชุ่มชื้นมากกว่าตำรับผสมสารสกัด 1% w/w
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Riadh, l., Chafik, H., Marcello, S. et al. Antioxidant activity and bioactive compound changes during Fruit ripening of high lycopene tomato cultivars J. Food Compos. Anal. 2011; 24 588–595.
Stahl, W., Sies, H. Perspective in Bio chemistry and Biophysics., Lycopene: a Biologically Important Carotenoid for Humans. J. Biochem. Biophys. 1996; 336 1–9.
Binoy, G., Charanjit, K., Khurdiya, D.S. Antioxidants in tomato (Lycopersi umesculentum) as a function of genotype. J. Food Chem. 2004; 84 45–51.
Elsayed, E. & Amany S. Evaluation of nutritional value and antioxidant activity of tomato peel extracts. Arab. J. Chem. 2016; 9 1010–1018.
Tsai. Tzung‐Hsun, Tsai. Po‐Jung, Ho. Su-Chen. Antioxidant and Anti‐inflamma tory Activities of Several Commonly Used Spices. J. Food Sci. 2005; 70 93–97.
Prommuak C., De-Eknamkul W., Shotipruk A. Extraction of flavonoids and carotenoids fromThai silk waste and antioxidant activity of extracts. Sep Purif Technol. 2008; 62 444–448.
รัตนา อินทรานุปกรณ์. การตรวจสอบและการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547.