เครื่องคัดผลเชอร์รีสายพันธ์ไทยด้วยเทคนิครางเอียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องคัดผลเชอร์รีและขนาดของเครื่องคัดผลเชอร์รี โดยมีขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ความยาว180 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร โดยฐานของเครื่องคัดผลเชอร์รีจะทำมาจากเหล็กฉากขนาด 1 นิ้ว ส่วนถาดรองผลเชอร์รีทำมาจากเหล็กที่มีขนาดความหนา1.40 มิลลิเมตร ในส่วนของแกนเหล็กที่ใช้การในคัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มิลลิเมตร ซึ่งการทำงานของเครื่องคัดผลเชอร์รีจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรงมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ในส่วนของการคัดขนาดนั้นได้จะแบ่งเป็น 4 ขนาด C , B , A , AA ตามลำดับขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ ซึ่งการปรับตั้งรางคัดขนาดที่เหมาะสมอยู่ที่ 10 องศา โดยเครื่องคัดผลเชอร์รีจะมีความผิดพลาดเฉลี่ยไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
นิดดา หงส์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ; 2550.
ศุภฤกษ์ โคตรทอง, อธิวัฒน์ แซ่เจีย. ศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องคัดผลมะนาวและทดสอบเครื่องคัดมะนาว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
.[3] กนต์ธีร์ สุขตากจันทร์, ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงค์, ดอน วิละคา. การออกแบบพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่เพื่อใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ปางอุ๋ง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2560.
สิทธิชัย วงศ์หน่อ, นฤเบศร์ หนูใสเพ็ชร การออกแบบและสร้างเครื่องคัดผลส้มโดยใช้น้ำหนัก ถ่วง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 2551; 39(3):168-171.
สุรเทพ แป้นเกิด, นรินทร์ จีระนันตสิน, ปิติวัฒน์ จุลเกษมศักดิ์, และคณะ. เครื่องคัดแยกน้ำหนักและสีมะม่วงอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 2565;16(2):99-105.
ธรรม์ณชาติ วันแต่ง. การออกแบบและสร้างเครื่องคัดแยกขนาดละมุดแบบเพลาหมุนวางคู่. การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55; วันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2560; กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: 2560; น.426-434.
สุทธิดา รอดเกษม, สมรักษ์ วงค์โปทา, ธนิรัตน์ ยอดดำเนิน. เครื่องคัดแยกสีและขนาดของลูกมะนาว.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งประดิษฐ์; วันที่ 17 ธันวาคม 2563; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: 2563; น.1-12.
ธวัชชัย อัตถวิบูลยฒกุล. เครื่องกลไฟฟ้า 1. กรุงเทพฯ; 2547.