ความสามารถในการกำจัดโลหะ และโลหะหนัก จากน้ำบาดาลของถ่านกัมมันต์จากทางปาล์ม

Main Article Content

สุนารี บดีพงศ์
พลชัย ขาวนวล
นพดล โพชกำเหนิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำบาดาลพื้นที่ ต.บางเขียด อ.สิงหนคร จ.สงขลา ก่อนและหลังการกรองด้วยถ่านกัมมันต์ทางปาล์ม โดยเตรียมถ่านกัมมันต์จากถ่านทางปาล์ม แล้วนำมากระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก เข้มข้น 85% เวลาในการกระตุ้น 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ 400 ºC อัตราส่วนโดยมวลของถ่านต่อ`ปริมาตรกรดฟอสฟอริกเท่ากับ 1 : 3 และนำไปทดสอบการกรองน้ำบาดาล ผลการทดสอบในน้ำก่อนกรอง ความเข้มข้นของ Fe ในแหล่งน้ำ A และ B ต่ำกว่ากว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (1.0 mg/L) ส่วน C และ D มีค่าสูงกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุดคือ 2.330 และ1.657 mg/L ตามลำดับ Mn ตรวจไม่พบในแหล่งน้ำ A ส่วนในแหล่งน้ำ B C และ D มีค่าสูงกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (0.5 mg/L) เท่ากับ 1.589, 1.295 และ 0.964 mg/L ตามลำดับ Zn ในแหล่งน้ำบาดาล A B C และ D มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (15 mg/L) ตรวจไม่พบ Cu Cd และ Pb ในแหล่งน้ำ A B C และ D หลังกรองความเข้มข้นของ Fe Mn Zn Cu Cd และ Pb เพิ่มขึ้นทุกแหล่ง ผลการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวด้วย SEM เมื่อกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกสภาพพื้นผิวด้านข้างจะเปลี่ยนไป ปริมาณกรดที่สูงเกินไปทำให้โครงสร้างรูพรุนถูกทำลายและสูญเสียความสามารถในการดูดซับ ส่วนบริเวณภาคตัดขวางไม่มีการทำปฏิกิริยา อีกทั้งผลการทดสอบ XRF พบ Fe Mn Cu ปนเปื้อนในถ่านทางปาล์ม มีผลให้น้ำบาดาลทั้ง 4 แหล่งมีปริมาณของโลหะ และโลหะหนักเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านกระบวนการกรองด้วยถ่านกัมมันต์ทางปาล์ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การประปาส่วนภูมิภาค เขต 5. การแก้ปัญหาประปาในคาบสมุทรสทิงพระ. [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567]. จาก: https://reg5.pwa.co.th/pdf/listen_opinions/listen165.pdf

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกัน ด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125; 2552

อุราวรรณ อุ่นแก้ว, อรุณ คงแก้ว. สารกรองน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค. วารสารกรมวิทยาศาสตร์. 2545;50(158):14-16.

Adepoju B., Osagiede S.A. and Oguntibeju O.O. Evaluation of the Concentration of Some Toxic Metals in Dietary Red Palm Oil. Bioanal Biomed. 2012;.4(5):92-95.

Hadoun H, Sadaoui Z, Souami N, et al. Characterization of mesoporous carbon prepared from date stems by H3PO4 chemical activation. Applied Surface Science. 2013; 280:1–7.

Lim WC, Srinivasakannan C, Balasubra manian N. Activation of palm shells by phosphoric acid impregnation for high yielding activated carbon. Journal of Analytical and Applied Pyrolysis. 2010;88 :181–186.

ธราพงษ์ วิทิตศานต์. ถ่านกัมมันต์ การผลิตและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554

พลชัย ขาวนวล, นพดล โพชกำเหนิด, สุนารี บดีพงศ์. การศึกษาความเป็นไปได้ของถ่านกัมมันต์จากทางปาล์มน้ำมันสำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2559.

Google. Google Maps. [Internet].; 2024 [cited 2024 Jan 9]. Available from: https://maps.app.goo.gl/JYUyGEH2XFoR4GvZ6?g_st=il.

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. โครงการประเมินศักยภาพด้านคุณภาพน้ำบาดาล วางระบบติดตามการปนเปื้อนและวางแผนรายละเอียดการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลในพืนที่จังหวัดระยองและชลบุรี. กรุงเทพฯ:เมทริกซ์ แอสโซซิเอทซ์; 2551.

ธีรดิตถ์ โพธิตันติมงคล, ปิยธิดา อุระชื่น. การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียอึตสาหกรรมโดยใช้ถ่านกัมมันต์จกไม้มะขามที่ผ่านการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 25(2):191-209.

สมาคมชีวมวลเอเชีย. คู่มือสารชีวมวลเอเชีย.[อินเทอร์เน็ต]. 2545. [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2562]. จาก: http://www.jie.or.jp/biomass/Asia.

สุปราณี วุ่นศรี, วราวุฒิ ดวงศิริ, นพดล โพชกำเหนิด. การผลิตถ่านกัมมันต์จากทางจากในแหล่งชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2562;13(1):30-41.

ณัฐพล จันทร์ศรี, มาลี สันติคุณาภรณ์. การศึกษาอุณหภูมิคาร์บอไนเซชันและปริมาณของกรดฟอสฟอริกต่อการดูดซับสารฟีนอลบนถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากเม็ดบ๊วย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2565;32(1):26-37.

ธริสรา จิรเสถียรพร, ชนกานต์ สกุลแถว, ชนัตถ์ โชคเจริญรัตน์, และคณะ. การปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำบาดาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี. 2562;3(2):16-23.

Olafisoye OB, Fatoki OS, Oguntibeju OO, et al. Accumulation and risk assessment of metals in palm oil cultivated on contaminated oil palm plantation soils. Toxicology Reports. 2020;7:324-334.

Nnorom IC, Alagbaoso JE, Amaechi UH, et al. Determination of Beneficial and Toxic Metals in Fresh Palm Oil (Elaeis guineensis Jacq.) from South-Eastern Nigeria: Estimation of Dietary Intake Benefits and Risk. Journal of Scientific Research & Reports. 2014; 3(16):2216-222