การลดมูลค่าของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรทางการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางในการลดของเสีย และลดมูลค่าของเสียของผลิตภัณฑ์ Frame Com Front NC131 ให้กับ บริษัทกรณีศึกษา จากการศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์บริษัทฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์ Frame Com Front NC131 ประเภทงานเสริมซิม T. 1.0 mm. มีมูลค่าของเสียมากที่สุดอยู่ที่ 304,800 บาทต่อเดือน คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกม่า (DMAIC) และหลักการ ECRS ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลการดำเนินงาน ได้แนวทางในการลดของเสียของผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1) กำหนดระยะเผื่อในการตัดวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตวัตถุดิบ 2) กำหนดให้พนักงานตรวจวัดวัตถุดิบที่ส่งมาจากผู้ผลิตวัตถุดิบทุกรุ่น 3) ออกแบบคู่มือการปฏิบัติงานใหม่ แล้วอบรมให้พนักงาน 4) ออกแบบและสร้าง JIG ช่วยในการตรวจสอบความกว้างของช่องงานเสริมซิมทั้งด้านหัวและด้านท้ายของชิ้นงาน 5) ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน เมื่อดำเนินงานตามแนวทางแล้วสามารถลดมูลค่าของเสียลงได้ 235,200 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 77.17 และสามารถลดเวลาในกระบวนการผลิตได้ 27.5 วินาทีต่อชิ้น คิดเป็นร้อยละ 12.33
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. เครื่องจักรกลการเกษตรปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/agri-machinery-z3301.aspx
R. Basu, Implementing Quality: A Practical Guide to Tools and Techniques, Thomson Learning, 2004.
J. Singh, H. Singh and G. Singh. Productivity improvement using lean manufacturing in manufacturing industry of Northern India. International Journal of Productivity and Performance Management. 2018; 67 (8): 1394–1415.
รัญชนา สินธวาลัย. การปรับปรุงคุณภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 1, ไอคิวมีเดีย, 2560.
วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง. แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking). พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ อี.ไอ. สแควร์. 2550.
Costa, T., Silva, F. J. G., & Pinto Ferreira, L. 2017. Improve the extrusion process in tire production using Six Sigma methodology. Procedia Manufacturing. 2017; 13: 1104–1111.
Swarnakar, V., & Vinodh, S. Deploying Lean Six Sigma framework in an automotive component manufacturing organization. International Journal of Lean Six Sigma. 2016; 7 (3): 267–293.
N. Kanoksirirujisaya. Reducing Waste in Frozen Crab Stick Product Inspection Process by Applying ECRS Technique. International Journal of Health Sciences. 2022; 1506–1523.
วรพจน์ ศิริรักษ์, นิวัฒน์ชัย ใจคำ, อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล, ธวัชชัย คล่องดี และศริญญา ศิริแสน. การใช้เทคนิค ECRS เพื่อปรับปรุงกระบวนการบรรจุน้ำผึ้ง. วารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ. 2565.; 1(2): 1-10