การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินปั้นที่ใช้ในงานประดิษฐ์

Main Article Content

นภารัตน์ พวงมาลัย
ดลพร นิลบรรจง
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินปั้นสำหรับงานประดิษฐ์ และศึกษาการใช้สีชนิดต่างๆ สำหรับดินปั้นในงานประดิษฐ์ ซึ่งดำเนินการศึกษาจากลักษณะของดินปั้น 3 ชนิด ประกอบด้วย ดินญี่ปุ่น ดินไทย และดินเยื่อกระดาษ โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ชนิดของสีที่นำมาใช้ในการศึกษา แปรเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย สีผสมอาหาร สีอะคริลิค สีน้ำมัน และศึกษาปริมาณของสี แปรเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ร้อยละ 5 และ 10 ของน้ำหนักดินปั้น ทำการวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จะได้ทั้งหมด 6 สิ่งทดลอง ต่อดินปั้น 1 ชนิด ผลการศึกษาวิจัยพบว่าดินปั้นแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการนำมาผสมสีที่แตกต่างกัน โดยดินญี่ปุ่นเหมาะสำหรับผสมด้วยสีอะคริลิคในปริมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักดินปั้นโดยมีค่าร้อยละความชื้นเท่ากับ 39.32 และมีค่าความต้านทานแรงกดเท่ากับ 10.43 นิวตัน สำหรับดินไทยเหมาะสำหรับผสมด้วยสีผสมอาหารในปริมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักดินปั้นโดยมีค่าร้อยละความชื้นเท่ากับ 18.91 และมีค่าความต้านทานแรงกดเท่ากับ 10.43 นิวตัน สุดท้ายดินเยื่อกระดาษเหมาะสำหรับผสมด้วยสีน้ำมันในปริมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักดินปั้นโดยมีค่าร้อยละความชื้นเท่ากับ 25.16 และมีค่าความต้านทานแรงกดเท่ากับ 12.43 นิวตัน ซึ่งดินปั้นที่นำมาใช้ในงานประดิษฐ์มีความเหมาะสมในการนำไปขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะเนื้อสัมผัสของดินปั้นแต่ละชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรอัญญู ณรงค์เดชา. (2552). งานศิลป์ดินไทยสู่การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศิลปะ. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กนกวรรณ กันทะกัน. การพัฒนาดินปั้นเถ้าแกลบสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2557.

กรีฑากร แสงสกุล. หัตถกรรมดินไทย: กรณีศึกษางานหัตถกรรมดินไทย OTOP ในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ; 2555.

กษมา ถิ่นกาญจน์. การพัฒนาดินปั้นกากมะพร้าวสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2562.

อภิรัติ โสฬศ, นิอา ดาวเจริญพร และรุ่งฤทัย รำพึงจิต. การพัฒนาแป้งปั้นจากเปลือกทุเรียนสำหรับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2555.

กฤษณา ชูโชนาค. การพัฒนาดินปั้นจากโอเอซิสเหลือใช้สำหรับงานใบตอง. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2560.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. Moisture content [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0830/Moisture-content-ความชื้น

nara global co. ltd. ดินเยื่อกระดาษ คืออะไร? [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://naraglobal.word press.com/2018/05/11/ดินเยื่อกระดาษ-คืออะไร/

Suriyan Sangsana. ดินเยื้อกระดาษ และวิธีการ ใช้งาน (paper clay slip) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://goterrestrial.com/2023/08/10/ดินเยื้อกระดาษ-และวิธีก/