การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0 โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาจำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการวิจัยและแบบสัมภาษณ์แนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของร่างกรอบแนวคิดในแต่ละด้าน ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0 ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย หลักการและแนวคิด 2) ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขนาดเล็กตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 สู่โรงเรียน 4.0 3) ด้านการบริหารโรงเรียน 4) ด้านการบริหาร 4 M 5) ด้านการมีส่วนร่วม 6) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 7) ด้านตัวชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการ 8) ด้านตัวชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการ กับด้านนโยบาย หลักการและแนวคิดและ 9) ด้านตัวชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการกับด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขนาดเล็กตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 สู่โรงเรียน 4.0 ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยต่อความเหมาะสมของแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ร้อยละ 90 - 100 นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดการแนวทางและความร่วมมือจากบุคลากรภายในโรงเรียน ตลอดทั้งจัดหาบุคลากรหรือพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น อีกทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
วชิระ ใจมั่น, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และ สมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2561). “แนวทางการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2,” Journal of Graduate Research. 9(1) : 131-147.
ศักดา พันธุ์เพ็ง. (2555). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
ปร.ด. (การบริหารการศึกษา) อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัอุบลราชธานี.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเร่งรัดแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560, จาก https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts/787389251302068
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนยุทธศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558 – 2561. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ภาวะสังคมไทยไตรมาส สี่และภาพรวมปี 2558. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560, จาก op.mahidol.ac.th
อัครวิทย์ ระบิน. (2559). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560, จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274