ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบทาบาตะที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

กิตติศักดิ์ นามวิชา
มณีนุช ให้ศิริกุล
ศักดิ์ชัย ศรีกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบทาบาตะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างมี จำนวน 18 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ การทดสอบแรงต้านด้วยน้ำหนักตัว และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ wilcoxon signed rank  test ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนของท่าการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของนักศึกษาชายกลุ่มควบคุม โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นท่า พบว่า ท่าที่ 4 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 39.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.03 รองลงมาคือ ท่าที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.33 2) ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนของท่าการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หลังเข้าร่วมโปรแกรมของนักศึกษาชายกลุ่มทดลอง โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นท่า พบว่า ท่าที่ 4 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 54.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.31 รองลงมาคือ ท่าที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.11 และ 3) เปรียบเทียบผลคะแนนของท่าการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ด้วยสถิติ Willcoxon Singed Ranks Test พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ผู้ที่ออกกำลังกายแบบทาบาตะควรเลือกท่าให้ความเหมาะสม มีพื้นฐานในการออกกำลังกาย และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). โปรแกรมการออกกําลังกายที่ดี. สืบค้นจาก https://www.cigna. co.th. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562.
ชูพงศ์ จันทร์อรุณ. (2558). ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีต่อความสามารถ ในการเตะลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอล อายุ 13 – 15 ปี. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562.
บรรลุ ศิริพานิช. (2559). มาออกกำลังแบบมีแรงต้านกันดีกว่า. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
ภมร ปล้องพันธ. (2557). ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวบนลูกบอลออกกำลังกายและบนพื้นที่มีต่อระยะทางในการตีกอล์ฟ เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบความแตกต่างของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวบนลูกบอลออกกำลังกายและบนพื้นที่มีต่อระยะทางในการตีกอล์ฟ. สืบค้นจาก http://re.kps.ku.ac.th/web-journal. สืบค้นเมื่อ 29 กรกรฎาคม 2562.
วีระชัย สิงหนิยม. (2559). การทำงานของกล้ามเนื้อ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา สีละมาด. (2558). ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2562). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน.
Izumi Tabata. (2560). การออกกำลังกายแบบทาบาตะ. สืบค้นจาก https://sportathlon. wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562.