การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการ สำนักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

มณีรัตน์ ตากิ่มนอก
พัชนา สุวรรณแสน
วรรณลักษณ์ เรียงความ
อนุชิต กล้าไพรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา และศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 372 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)


       ผลการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเลือกใช้บริการเมื่อต้องการทำงาน เช่น ทำการบ้าน  วิจัย ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 39.00 ส่วนใหญ่เข้าใช้บริการในช่วงเวลาบ่าย (13.00 น. – 16.30 น.) คิดเป็นร้อยละ 52.15 อัตราความถี่ในการเข้าใช้บริการส่วนใหญ่ใช้เดือนละ 1 – 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 89.25 และเข้าใช้บริการครั้งละ 2 – 4 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 73.66 ความพึงพอใจต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (= 3.990) ผลการวิจัยการศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบจากค่า Eigenvalue ที่มีค่ามากกว่า 1 จะได้ 4 องค์ประกอบ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดของตัวแปร ได้ร้อยละ 56.664 โดยองค์ประกอบที่ 1 คือ องค์ประกอบ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ ร้อยละ 19.959 องค์ประกอบที่ 2 ด้านทรัพยากรสารสนเทศ สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 14.009 องค์ประกอบที่ 3 ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถอธิบาย ความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 12.334 และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการให้บริการของบุคลากรและการบริการ สามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 10.362


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ.
ปิยะนุช สุจิต. (2550) ความพึงพอใจในการใช้ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. (รายงานวิจัย). (ม.ป.ท.):
กรุงเทพฯ.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะศึกษาศาสตร์.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2557). รายงานความพึงพอใจต่องานบริการ
ของสานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2557. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.