ผลการศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนในรายวิชาไฟฟ้า โดยกระบวนการแบบสะเต็มศึกษา

Main Article Content

กียรติศักดิ์ โคกลือชา
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสอนวิชาไฟฟ้าโดยกระบวนการสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนวิชาไฟฟ้าโดยกระบวนการสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้า หมายมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ครูผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา จํานวน 12 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา เอก และมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสรุปกรอบแนวคิดแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนวิชาไฟฟ้า และแบบประเมินความเหมาะสมของ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนวิชาไฟฟ้า โดยกระบวนการแบบสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ


ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนวิชา ไฟฟ้าโดยกระบวนการสะเต็มศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศที่นํามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) กระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม 3) การบูรณาการการสอนวิชาไฟฟ้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาอื่น และ 4) การ วัดผลและประเมินผล โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อความเหมาะสมของแนวทาง โดยรวมอยู่ ระหว่างร้อยละ 80-100

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2560), “คิดเป็นเห็นต่างสร้างสรรค์เท่าทันสื่อ ยึดถือคุณธรรม: คุณลักษณะและทักษะสําคัญในยุคศตวรรษที่ 21 สําหรับเยาวชนไทย,” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 4 (2) : 1-20.

ธรัช อารีราษฎร์ และ วรปภา อารีราษฎร์ (2557). การพัฒนาระบบเครือข่ายการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิน พันธุ์พินิจ. (2551). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์ จํากัด.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557 จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542.pdf

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553) แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2559. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/698-file.pdf

ทบวงมหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557 จาก http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU.

May, Richard. (2011). School Structures that support 21st Century Learning. Retrieved March 4, 2014 from https://www.apsva.us/wp-content/uploads/ legacy assets/www/bda59d16b8-School Structures.pdf