การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียผลิตพอลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต จากดินบริเวณที่มีการปนเปื้อนน้ำมันในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

สิริมาภรณ์ วัชรกุล
สโรชา จันทรพรม
รัตติญา จะนะจินา
กมลธรรม อ่ำสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการ ผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (Polyhydroxyalkanoates: PHAs) จากดินที่มีการปนเปื้อน น้ํามันในจังหวัดสงขลาโดยใช้น้ํามันเหลือทิ้งจากการทอดปอเปี๊ยะเป็นแหล่งคาร์บอนในการเจริญ และสร้างพลังงานสะสมในรูปแกรนูลของพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต จากการคัดแยกแบคทีเรีย โดยวิธี Sensitive, Viable-Colony Staining Method พบแบคทีเรียที่สร้าง PHAs จํานวน 120 ไอโซเลท เมื่อคัดแยกจากลักษณะสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกันพบเพียง 10 ไอโซเลทที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก 7 ไอโซเลทและเป็นแบคทีเรียแกรมลบ 3 ไอโซเลท เมื่อทดสอบ ความสามารถในการเจริญในอาหาร Mineral Salts Mediนา (MSM) ที่มีน้ํามันเหลือทิ้งจาก การทอดปอเปี้ยะโดยการวัดน้ําหนักเซลล์แห้งพบว่า 3 ไอโซเลท SR 11 SR12 และ SR22 มีปริมาณน้ําหนักเซลล์แห้งสูงสุดโดยไอโซเลท SR22 ให้ปริมาณน้ําหนักเซลล์แห้งสูงสุดถึง 10.40 gif.latex?\pm0.23 กรัมต่อลิตร นอกจากนี้ยังยืนยันผลการสร้างเม็ดแกรนูลของ PHAs ด้วยการย้อมสี Sudan Black B พบว่าทุกไอโซเลทมีการสร้าง PHAs เมื่อทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีของ แบคทีเรียที่คัดเลือกได้ทั้ง 3 ไอโซเลท พบว่าไอโซเลท SR11 มีความคล้ายคลึงกับแบคทีเรียจีนัส Bacillus spp. ในขณะที่ ไอโซเลท SR12 และ SR22 มีความคล้ายคลึงกับแบคทีเรียจีนัส Pseudomonas spp.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al-Kaddo, K.B., Kumar, S. and Mohd, Razip S. (2016). “Screening of bacteria for PHA production using waste glycerol as carbon source and the ability of new strain to produce P(3HB-CO-3HV) copolymer,” Malaysian Journal of Microbiology. 12 (3) : 245-253.

Anbreen, A., Mohammad, Z., Khalid, M.Z., Aqdas, N., Muhammad, N. A. and Shazia, T. (2016). “Microbial production of polyhydroxyalkanoates (PHAS) and its copolymers: A review of recent advancements,” International Journal of Biological Macromolecules. 89 (1): 161–174.

Barham, P.J., Keller, A., Otun, E.L. and Holmes, P.A. (1984). “Crystallization and morphology of a bacterial thermoplastic: Poly-3-hydroxybutyrate,” Journal of Materials Science. 19 (9) : 2781-2794

Bhuwal, A.K., Gulab, Singh, N., Kumar, A., Varsha, G. and Anita, Y. (2013). "Isolation and screening of polyhydroxyalkanoates producing bacteria from pulp, paper, and cardboard industry wastes,”International Journal of Biomaterials. 2013: 1-10.

Gomaa, E.Z. (2014). “Production of polyhydroxyalkanoates (PHAS) By Bacillus subtilis and Escherichia coli grown on cane molasses fortified with ethanol,” Brazillian Archives of Biology and Technology. 57(1): 145-154.

Ludwig, W, Schleifer, K.H., and Whitman, W.B. (1989). Bergey's Manual of systematic bacteriology. USA : Springer.

Sasikumar, V., Priya, C., Shiv, S. and Sathish, S. (2014). “Isolation and preliminary screening of lignin degrading microbes,” Journal of Academia and Industrial Research. 3 (6): 291-294.

Spiekermann, P., Rehm, B.H., Kalscheuer, R., Baumeister, D. and Steinbüchel, A. (1999). “A sensitive, viable-colony staining method using Nile red for direct screening of bacteria that accumulate polyhydroxyalkanoic acids and other lipid storage compounds,” Archives of Microbiology. 171 (2): 73-80.

Tan, G.M., Chia-Lung, C., Ling, L., Liya, G., Lin, W., Indah M.N.R., Yanhong, L., Lei, Z., Yu, M. and Jing-Yuan, W. (2014). “Start a research on biopolymer polyhydroxyalkanoate (PHA): A review,” Polymers. 6 (1): 706-754.