ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อองค์ประกอบของการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแบบออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อ องค์ประกอบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร แบบออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มี ประสบการณ์ในการจัดการเรียนการระดับบัณฑิตศึกษาโดยใช้สื่อออนไลน์ จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแบบออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา และสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการ เรียนการสอนหลักสูตรแบบออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 8 โมดูล มีความ เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 94.44-100.00 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหรือหน้าที่ของแต่ละ โมดูลที่มีความเหมาะสมร้อยละ 100.00 ได้แก่ โมดูลติดต่อผู้ใช้ โมดูลสมาชิก โมดูล ลงทะเบียน โมดูลหลักสูตร และโมดูลบทเรียนสําหรับอาจารย์ ส่วนโมดูลอาจารย์ที่ปรึกษาและโมดูลบุคลากรฝ่ายทะเบียน มีความเหมาะสม ร้อยละ 94.44 และ โมดูลนักศึกษา มีความเหมาะสมร้อยละ 88.89
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559. จาก www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
กาญจนา ดงสงคราม วรปภา อารีราษฎร์ และ บดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการสาขาวิชา ในงานประชุมวิชาการ “การจัดการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” วันที่ 30 - 31 มีนาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
นพศักดิ์ ตันติสัตยานนท์. (2550), การบูรณาการระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) บน ระบบบริหารจัดการ การสอนและฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2548). แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดําเนินการหลักสูตร ระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548. สืบค้น เมื่อ 20 ตุลาคม 2559. จาก http://www.mua.go.th/users/he-Commission/law.php
ปรีชา น้อยอําคา. (2548). การพัฒนาระบบสร้างบทเรียนออนไลน์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พรรณพิมล เพียรรุ่งโรจน์. (2547). การนําเสนอการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับครูปฐมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ศรีวิไล นิราราช วรปภา อารีราษฎร์ และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. ในงานประชุม วิชาการ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” วันที่ 30 - 31 มีนาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
ศิริบูรณ อัตศรัณย. (2548). “การฝึกอบรมด้านการสองกล้องทางเดินอาหาร,” สงขลานครินทรเวชสาร 23(6) : มปป.
Colvin R. and Mayer R. (2003). e-Learning and the Science of Instruction:Proven Guidelines for Consumers and Designers of MultimediaLearning. USA: Wiley & Sons Inc.
Relan and Gillani. (1997). Web-based Instruction and the Traditional Classroom : Similarities and differences, in B.H. Khan (ed.) WebBased Instruction, Englewood Cliffs. NJ: Educational Technology Publications.
Ritchie, D.C. and Hoffman, B. (1997). Incorporating Instructional Fesign Principles with the World Wide Web. In Khan, B.H. (ed.), Web-Based Instruction, Educational Technology Publications, Englewood Cliffs, NJ:Prentice Hall.
Dyroweb. (1998). Web-Based Training. Retrieved October 8, 2015, from: http://www.dyroweb.com/wbt