การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการลดสารพิษตกค้างในใบกะเพราโดยใช้ถ่านหุงต้มเป็นตัวดูดซับสารพิษ

Main Article Content

นันทวัน เมืองนิล
เย็นหทัย แน่นหนา
ธิดา อมร

บทคัดย่อ

ในสังคมปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการกําจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวาง ซึ่งสารเคมี เหล่านี้เป็นสารพิษที่มีผลต่อผู้บริโภค ถ้าได้รับเป็นเวลานานอาจมีผลนําไปสู่โรคมะเร็ง และ ผลกระทบต่อระบบประสาท กะเพราเป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน และนํามาเป็นวัตถุดิบ ในการประกอบอาหาร แต่มีรายงานวิจัยพบว่าในกะเพรามีสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลงมาก เป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการลดปริมาณสารพิษตกค้างในกะเพราโดยใช้ ถ่านหุงต้มจากไม้โกงกางเป็นตัวดูดซับสารพิษตกค้างในกลุ่มคาร์บาเมต ได้แก่ คาร์บาริล โดย ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ถ่านหุงต้มดูดซับสารคาร์บาริล และวิเคราะห์สาร คาร์บาริลโดยเปรียบเทียบระหว่างกะเพราที่ได้รับสารพิษก่อนแช่ด้วยถ่านและหลังแช่ด้วยถ่าน ด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟีแทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี (Liquid Chromatography Tandem-Mass Spectrometry: LC-MS/MS) ผลการวิจัยพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมใน การใช้ถ่านหุงต้มดูดซับสารคาร์บาริล คือ 20 นาที จากผลการวิเคราะห์ด้วย LC-MS/MS พบว่า กะเพราที่ได้รับสารพิษก่อนแช่ด้วยถ่านตรวจพบสารคาร์บาริลปริมาณ 35.54 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม หลังแช่ด้วยถ่าน 20 นาที ตรวจพบสารคาร์บาริลปริมาณ 11.29 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ผลของการใช้ถ่านหุงต้มจากไม้โกงกางเป็นตัวดูดซับสามารถลดปริมาณสารคาร์บาริลได้ถึง ร้อยละ 68.23

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ชวาลวิทย์. (2558) เปิดผลตรวจ 10 ผักยอดนิยมของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560. จาก http://thaipublica.org/2015/03/veget-chemica/

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560), ภัยร้าย...โรคมะเร็ง. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560. จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=26670

ไทยรัฐฉบับพิมพ์ (2558), ยาฆ่าแมลงตกค้างในใบกะเพรา. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://www.thairath.co.th/content/547036

ถวัลย์ ประมวล. (2557), ประสิทธิภาพของสารกําจัดวัชพืชที่ใช้แบบหลังงอกและการวิเคราะห์สารตกค้างในสับปะรด โดยใช้ GC-MS และ LC-MS/MS. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพืชไร่นา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2561), Carbamate / คาร์บาเมต ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561. จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2173/carbamate

ราเมศ กรณีย์ และพิมพ์ใจ ปรางสุรางค์. (2016), การศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ของวิธีการล้างเพื่อขจัดสารเคมีกําจัดแมลงตกค้างในผักสด. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560. จาก http://kmfda.fda.moph.go.th/journal/Chapter/ 3/27_35_C4_1.59.pdf

วันวิสาข์ อินทรัตน์ (2554). การวิเคราะห์สารตกค้างในผักปลอดสารพิษ, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์. (2557), ผักผลไม้ป้องกันโรคมะเร็ง. สืบค้นเมื่อ 18กันยายน 2560. จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/222/ ผักผลไม้ ป้องกันมะเร็ง/

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. (2548). ความรู้ทั่วไปที่นักวิชาการควรทราบ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561. 270 http://webdb.dmsc.moph.go.th/i fc_toxic/ez.mm_main.asp

อานุภาพ อุดมทรัพย์ (2546). การใช้ประโยชน์จากถ่านไม้. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2560 จาก https://www.charcoal.snmcenter.com/charcoatthai/charcoal_fun2.php

เอนก หาลี และธวัชชัย ศุภวิทิตพัฒนา. (2555). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารละลายด่างทับทิมและน้ํายาล้างผักทางการค้า 3 ชนิดในการลดปริมาณเมโธ มิลในผักคะน้า. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560. จาก http://www.agri.kmitl.ac.th/joomla 30/index.php/category/19-30-1?download=88:3

Environmental Health Unit. (2002). FACT SHEET POPULATION HEALTH BRANCH. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561. จาก https://www.health.qld.gov. au/_Data/assets/pdf_file/0027/422298/4174.pdf