ผลการใช้กากกะทิเสริมด้วยเอนไซม์ไฟเตสต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ

Main Article Content

พรรณปพร พุ่มอําไพ
สุทธิดา สุขเสริม
ดํารง กิตติชัยศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้กากกะทิเสริมด้วยเอนไซม์ไฟเตสที่ระดับต่างกันในสูตรอาหารไก่ เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) ใช้ไก่พันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์ อายุ 7 วัน คละเพศ โดยมีน้ําหนัก เริ่มต้นเฉลี่ย 82.18gif.latex?\pm0.91 กรัม จํานวน 72 ตัว แบ่งเป็น 4 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 3 ซ้ํา ๆ ละ 6 ตัว อาหารทดลองประกอบด้วย สูตรอาหารควบคุมไม่เสริมกากกะทิและเอนไซม์ไฟเตส (T1) ใช้ กากกะทิ 3 เปอร์เซ็นต์ เสริมเอนไซม์ไฟเตส 0.01 เปอร์เซ็นต์ (T2) ใช้กากกะทิ 6 เปอร์เซ็นต์ เสริมเอนไซม์ไฟเตส 0.02 เปอร์เซ็นต์ (T3) และใช้เสริมกากกะทิ 9 เปอร์เซ็นต์ เสริมเอนไซม์ ไฟเตส 0.03 เปอร์เซ็นต์ (T4) ผลการวิจัยพบว่า อาหารทดลองทั้ง 4 สูตร มีอัตราการ เจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหาร อัตราการกินได้ เปอร์เซ็นต์ซาก และต้นทุนค่าอาหารต่อ น้ําหนักที่เพิ่มของไก่เนื้อไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้น สามารถใช้กากกะทิและ เอนไซม์ไฟเตสในอาหารไก่เนื้อเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้เศษเหลือจากกากกะทิเป็นอาหาร


สัตว์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานต์ สุขสุแพทย์, จรรยา คงฤทธิ์ และ ณหทัย วิจิตโรทัย. (2555). การใช้ได้ของกากกะทิเป็นอาหารเสริมในไก่เนื้อ, การประชุมวิชาการงานเกษตรนเรศวร. 10 : 174-181

คึกฤทธิ์ อารีปกรณ์. (2560), ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560. จาก https://www.thairath.co.th/content/827777.

ประวิทย์ รอดจันทร์. (2557). ผลของระดับการใช้กากกะทิตากแห้งเสริมด้วยเอนไซม์รวม ต่อการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารในสุกร. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล. (2556). การประเมินคุณภาพอาหารสุกรโดยการทดสอบการย่อยได้. สงขลา : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ศรายุทธ เอี่ยมไพโรจน์. (2542). การวิเคราะห์และอุปสงค์ไก่เนื้อของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2560 http://www.phtnet.org/research/viewabstract.asp?research_id=ah223.

Khuwijitjaru, P., K. Watsanit and S. Adachi. (2012). Carbohydrate Content and Composition of Product from Subcritical Water Treatment of Coconut Meal. J Ind Eng. Chem. 18 : 225-229.

Narumon, S. (2008). Effects of Dried Coconut Meal in the Diet on Growth Performance of Broilers. In: Proceedings 5th Symposium in Animal Science, January 31, 2008. Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. 284-287.

Panigrahi, S. (1991). Metabolizable Energy (ME) Value of High Residual Lipid Copra Meal in Formulation Broiler Chick Diet. Tropical Science. 31 : 141145.