สื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ ร่วมด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง ผ้าไหมมัดหมี่ลายผักกูด ชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

JIRAVADEE YOYRAM
กชสร มาศบุญเรือง
สุนิตา ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติร่วมด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องผ้าไหมมัดหมี่ลายผักกูดชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติร่วมด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง ผ้าไหมมัดหมี่ลายผักกูดชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลทั่วไปที่เข้ามาชมสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ บน Google Site จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติร่วมด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องผ้าไหมมัดหมี่ลายผักกูดชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ที่ผ่านการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า สื่อส่งเสริมการเรียนรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ ที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเอง เพิ่มความน่าสนใจในการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยมีค่าความพึงพอใจของสื่ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2553). วารสารออนไลน์ ADDIE MODLE. สืบค้นวันที่ 3 สิงหาคม 2563, จาก http://thanadol_edv.blogspot.com/2010/04/internet.html.

ชุมชนบ้านโคกเมือง. (2564) . สารสนเทศชุมชนบ้านโคกเมือง. บุรีรัมย์ : ชุมชนบ้านโคกเมือง.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.

มานพ สว่างจิต และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2557). การพัฒนาสื่อความจริงเสมือน วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. นครนายก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). รายงานการสรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM Education. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก htpp://secondsci.ipst.ac.th.

สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์ เอกรัตน์ เชื้อวังคำ สุริยา ดีรักษา และ วรพงศ์ มาลัยวงษ์ .(2559) .การพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1), 95-111.

อำรัน มะลี นุชนาฏ ใจดำรงค์ และเมธี ดิสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยี ออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง , (8(1), 158-172.