เครื่องสลัดน้ำมันพริกทอดเพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองบัวแดง

Main Article Content

ศิริภิญญา อาสา

บทคัดย่อ

       เครื่องสลัดน้ำมันพริกทอดต้นแบบที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นถูกออกแบบให้ใช้หลักการของแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางเพื่อถนอมอาหารและความเร็วรอบคงที่ พัฒนาขึ้นเพื่อลดเวลาการทำงานในกระบวนการผลิตพริกทอดและลดปริมาณน้ำมันคงค้างในพริกทอด ซึ่งเครื่องสลัดน้ำมันพริกทอดต้นแบบมีลักษณะที่ประกอบด้วยโครงสร้างเครื่องมีขนาดกว้าง 54 ซม.
ยาว 50 ซม. สูง 60 ซม. มีมวล 50 กก. ต้นกำลังของมอเตอร์ 1/4 แรงม้า และแรงดัน
ไฟฟ้า 220 โวลต์ ด้านในตัวเครื่องติดตั้งชุดตะแกรงสลัดน้ำมันโดยใช้มอเตอร์เป็นเครื่องต้นกำลังส่งไปยังเพลาเพื่อทำการหมุนเหวี่ยงชุดตะแกรงที่อยู่ด้านในของตัวเครื่องด้วยความเร็วรอบในการหมุนเหวี่ยง 1,500 รอบต่อนาที สามารถบรรจุพริกทอดได้สูงสุด 2 กก./ครั้ง
ใช้เวลาในการสลัดน้ำมัน 5 นาที หรือมีกำลังผลิตสูงสุด 24 กก./ชม. และปริมาณน้ำมันในพริกทอดลดลงประมาณร้อยละ 11.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิตาภรณ์ ภูบุญบุตร. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). การจัดการพัฒนาอาชีพเสริมที่มีวัดเป็นศูนย์กลางสู่ชุมชนที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านตูม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.
มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), 32(2) , 169-182.
สุธีรา เดชนครินทร์ ธนัญญา ยินเจริญ และอัคญาณ อารยะญาณ. (2561). การจัดการธุรกิจชุมชนแปรรูปอาหาร: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา. การประชุม
วิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน: กรณีศึกษา บ้านไพร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 925-935.
ไพศาล ทองสงค์ สญชัย เข็มเจริญ และศิริชัย ต่อสกุล. (2561). การออกแบบและพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันหมูฝอยต้อนแบบสำหรับ OTOP กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านหนองหลวงเพื่อการส่งออกสู่
ประชาคมอาเซียน. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 89-100.
อุทัย ผ่องศรี. (2551). เครื่องสลัดน้ำมันสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภททอด. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
อุทัย ผ่องศรี และเสนีย์ ศิริไชย. (2562). การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันของอาหารประเภททอดสำหรับครัวเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4), 642-651.