การพัฒนาแผ่นฝ้าเพดานจากใยไม้ผสมผงยิปซัมที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

Main Article Content

อธิพันธ์ ลอยเมืองกลาง
อัคร เสมรบุณย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฉนวนกันความร้อนแผ่นฝ้าเพดานจากใยไม้ผสมผงยิปซัม ซึ่งได้ออกแบบอัตราส่วนผสมของใยไม้กับผงยิปซัม จำนวน 2 อัตราส่วน คือ 0.05:1 และ 0.1:1 โดยน้ำหนัก ทำการผลิตและขึ้นรูปแผ่นฝ้าด้วยแบบหล่อ ที่ระดับความหนา 9 มิลลิเมตร และใช้แผ่นกระดาษประกบทั้งด้านล่าง และด้านบนของแผ่นยิปซัม ทำการทดสอบคุณสมบัติเชิงกล ตามมาตรฐาน มอก. 219 – 2552 เรื่องแผ่นยิปซัม ประกอบด้วย การทดสอบแรงกดแตกตามยาว แรงกดแตกตามขวาง แรงต้านทานการดึงตะปู โดยใช้ตัวอย่างชิ้นทดสอบ 3 ตัวอย่าง ต่ออัตราส่วนผสมต่อวิธีการทดสอบ และทดสอบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของแผ่นฝ้าเพดานจากใยไม้ผสมผงยิปซัมกับแผ่นฝ้าเพดานที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดอีก 2 ชนิด คือ แผ่นฝ้าเพดานยิปซัมชนิดเปเปอร์ทัช และแผ่นฝ้าเพดานชนิดกระเบื้องแผ่นเรียบ


จากผลการทดสอบคุณสมบัติเชิงกล พบว่า ที่อัตราส่วนผสม 0.05:1 ทุกชิ้น ผ่านมาตรฐาน แต่ที่อัตราส่วนผสม 0.1:1 ชิ้นทดสอบส่วนใหญ่ ไม่ผ่านมาตรฐาน ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน ที่อัตราส่วนผสม 0.05:1 มีประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนน้อยกว่าอัตราส่วนผสม 0.1:1 และเมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นฝ้าเพดานอีกสองชนิด พบว่าประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของแผ่นฝ้าเพดานจากใยไม้ผสมผงยิปซัม มีค่าการลดลงของอุณหภูมิที่มากกว่าแผ่นฝ้าเพดานทั้งสองชนิด โดยสรุปได้ว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด ในการผลิตแผ่นฝ้าเพดานจากใยไม้ธรรมชาติผสมผงยิปซัม ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน คือ อัตราส่วนผสม 0.05:1 ที่มีค่าการป้องกันความร้อน คิดเป็นร้อยละ 17.75 ของอุณหภูมิที่ลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยา ชื่นอารมณ์. (2554). ผลของการเก็บรักษาผงยิปซัมปลาสเตอร์ต่อสมบัติเชิงกลของแบบหล่อปูนปลาสเตอร์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ฉบับพิเศษ.

โรสลีนา จาราแว. (2559). การพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากพืชในเขตท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย. (2560). [ออนไลน์]. สถิติส่งออก-นำเข้า ไม้ยางพาราแปรรูป ปี 2559. [สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2564]. จาก http://www.tpa-rubberwood.org/articles.php?page=1

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2553). แผ่นยิปซัม. มอก.219 – 2552.

Dima, C., Badanoiu, A., Cirstea, S., Nicoara, A. I., & Stoleriu, S. (2020). Lightweight gypsum materials with potential use for thermal insulations. Materials, 13(23), 1–13.

He, T., Xu, R., Da, Y., Yang, R., Chen, C., & Liu, Y. (2019). Experimental study of high-performance autoclaved aerated concrete produced with recycled wood fibers and rubber powder. Journal of Cleaner Production, 234, 559–567.

United States Environmental Protection Agency. Understanding Global Warming Potentials. [online] 2020. [cited 31 Jan. 2020]. Available from: URL: https://www.epa.gov/ghgemissions/

Wang, L., Yu, I. K. M., Tsang, D. C. W., Li, S., Li, J. Shan, Poon, C. S., Wang, Y. S., & Dai, J. G. (2017). Transforming wood waste into water-resistant magnesia-phosphate cement particleboard modified by alumina and red mud. Journal of Cleaner Production, 168, 452–462.