Applying Digital Technology to transfer the local wisdom of Hemp woven fabric production

Main Article Content

บุษราภรณ์ มหัทธนชัย
ชนินทร์ มหัทธนชัย
จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ
ทิวาวัลย์ ต๊ะการ
เดือนฉาย ไชยบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการผลิตผ้าทอใยกัญชง และ พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาในการผลิตผ้าทอใยกัญชง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าใยกัญชงและเยาวชนในชุมชน จำนวน 30 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง พื้นที่ในการวิจัยคือ บ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในการดำเนินงานวิจัยการศึกษาหาองค์ความรู้ภูมิปัญญาจะใช้วิธีการสำรวจ สัมภาษณ์ และจัดเวทีชุมชนเพื่อร่วมระดมความคิดในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่กระบวนการตัดต้นกัญชง การตากต้นกัญชง การลอกเปลือก การตำเส้น การต่อเส้นใยกัญชง การปั่นเส้นใยกัญชงให้เป็นเกลียวเส้นด้าย การขึ้นกากบาท การต้มเส้น  การซักเส้น การรีดเส้น การทอผ้า การวาดลวดลายผ้าด้วยการเขียนเทียนขี้ผึ้ง การย้อมสีผ้าจากวัสดุธรรมชาติ จากนั้นนำองค์ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์และสื่อเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ การประเมินประสิทธิภาพเทคโนโลยีดิจิทัลจะประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจำนวน 30 คน ผลการประเมินพบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.57 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 ลำดับความพึงพอใจแต่ละด้านจากมากไปน้อย คือ ด้านประโยชน์การใช้สอยและความน่าเชื่อถือ  ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ ตามลำดับ ผลจากการวิจัยนี้จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปเผยแพร่กับเยาวชนและคนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ และเผยแพร่ให้กับชุมชนกลุ่มผ้าทอมือใยกัญชงอื่น รวมทั้งผู้สนใจได้เรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและอนุรักษ์วัฒนธรรมสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทอง สุดประเสริฐ. (2551) การปรับความสัมพันธ์ระหว่างเพศของผู้หญิงม้งค้าผ้าใยกัญชง : จากหมู่บ้านสู่ตลาดค้าผ้า. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนินทร์ มหัทธนชัย และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบดิจิทัลคอมเมิร์ซเพื่อส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชลิดา อุปัญญ์. (2561). สถานะทางกฎหมายและมาตรการควบคุมเพื่อใช้ประโยชน์จากกัญชา/กัญชง. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 9(2), 126-150.
ธาราทิพย์ สมจันทร์ตา, พิมวิภา มลอา และ ตุลาภรณ์ แสนปรน. (2562). กัญชงกับความเชื่อของชาวม้ง หมู่บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 13-21.
ธีระ ชัยพิริยะศักดิ์. (2561). การศึกษาวิธีการการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองเฮมพ์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522. วารสารอาหารและยา ฉบับเดือนกันยายน – ธันวาคม 2561. กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ธัญพร ถนอมวรกุล (สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2561)
นคเรศ พุทธรัตน์. (2559). การศึกษาสมบัติผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์จากเส้นด้ายใยกัญชงเสริมเส้นด้ายสเตนเลสต่อการป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประสงค์ กรรโมปกรณ์. (2561). การแยกเส้นใยกัญชง (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
มนูญ จิตต์ใจฉ่ำ. (2557). การผลิตเส้นด้ายจากใยกัญชงด้วยระบบการผลิตเส้นด้ายแบบวงแหวน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สริตา ปิ่นมณี. (2552). การจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
อาคม กาญจนประโชติ. (2550). กัญชง: Hemp. เชียงใหม่: โทนคัลเลอร์เชียงใหม่.
Morgan J. (2014). Hemp fibres 'better than grapheme’. Retrieved from https://www.bbc.com/news/science-environment-28770876.
Davis D. F., Bagozzi P. R., & Warshaw R. P. (1989). User Acceptance of Computer Technology a Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8). 982-1003.