การพัฒนารูปแบบสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

Jittaporn Tarapitakwong

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน แหล่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชน และเพื่อพัฒนารูปแบบสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่สนใจ ด้วยกระบวนการ SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall งานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ หน่วยงานราชการ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้นำชุมชนใน อำเภอแม่วาง มาวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสำรวจรูปแบบการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถแสดงข้อมูล บรรยากาศ และเส้นทางการเดินทาง เพื่อจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวเชิงโบราณสถาน เชิงวัฒนธรรม และเชิงศิลปะหัตถกรรมในชุมชน โดยสามารถนำเสนอข้อมูลทั้งที่เป็น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอเพื่อถ่ายทอดบรรยากาศ และเส้นทางการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวผ่านการอ่าน คิวอาร์โค้ด (QR code) นอกจากนี้ยังสามารถทำการติดตั้งแอปพลิเคชันแผนที่ในการเดินทางไปยังสถานที่สนใจบนสมาร์ทโฟนผ่านการอ่าน QR code หรือสามารถใช้แผนที่เดินทางผ่านทาง Website หลังจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ติดตั้งระบบ และทดลองใช้งาน ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้แก่ นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมทำเวทีชุมชน รวมทั้งสิ้น 100 คน พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมจากการใช้ระบบสารสนเทศ คือ 4.72 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การปกครองอำเภอแม่วาง. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564). สืบค้นจาก http://www.maewang.go.th

คมกฤช จิระบุตร และคณะ. (2560). การสร้างสื่อแผนที่ท่องเที่ยว โดยการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. การประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น.2456-2565) . มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และคณะ. (2562). การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมชุมชนตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2559). แผนงานวิจัยการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบนพื้นที่สูงโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ กรณีศึกษาอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ (ระยะที่ 2) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เดชดนัย จุ้ยชุม และดิชิตชัย เมตตาริกานนท์. (2560). การพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 187-201.

ธารทิพย์ รัตนวิจารณ์ และชนิชา พงษ์สนิท. (2559). โลกเสมือนจริงที่กลายเป็น “โลกสมจริง” ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารการสื่อสารและการจัดการ, 2(3), 97-114.

นิติศักดิ์ เจริญรูป.(2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 13-30.

นิภาพร ทรัพย์ศรีศุภชัย สิทธิพงษ์ พุทธวงษ์ ศรทัศน์ อินทรบุตร และนิเวศ จิระวิชิตชัย. (2560). ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้องค์กร ของการประปาส่วนภูมิภาค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(4), 65-73.

พจนา สวนศรี และคณะ. (2559). ศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาตลาด การท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน (รายงารผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศุภชัย จิวะรังสินี. (2559). ระบบฐานข้อมูล Oracle Database 12c จากเริ่มต้นสู่มืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เทรนลิสต์.

สุรพงษ์ วิริยะ อนันตทรัพย์ สุขประดิษฐ์ และรษา ทองคงอยู่. (2560). การพัฒนาเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครสวรรค์. รายงานสืบเนื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น.1253-1260). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. (2562). ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล. สืบค้นจาก http://www.maewin.net/

อัฉราวุฒิ ศรีประไหม และพจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยววัดมหาธาตุ. The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2) (น.44-48).พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Kendall, K.E., & Kendall, J.E. (2011). System analysis & design (8th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.