การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแก้ไอมะขามป้อมและยาอมมะแว้งกับ ยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟนในการรักษาอาการไอในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริลของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปรียบเทียบผลการใช้ยาแก้ไอมะขามป้อมและยาอมมะแว้งกับยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนต่ออาการไอในผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริลของผู้มารับบริการโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 63 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองยาอมมะแว้งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ายาแก้ไอมะขามป้อม และยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแก้ไอมะขามป้อม และยาอมมะแว้งกับยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟนในการรักษาอาการไอในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริล ในด้านกายภาพ จิตใจและสังคม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p – value = 0.01 ส่งผลให้การศึกษานี้เป็นเรื่องที่ดีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กนกพร ระนาดแก้ว, สมบูรณ์ เจตลีลา, อัจฉรา แก้วน้อย, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่ และกัญจนภรณ์ ธงทอง. (2565). บทบาทของมอลโทรเดกซ์ตรินและสารช่วยตอกตรงในการพัฒนาตํารับยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้งซึ่งมีและไม่มีเกล็ดสะระแหน่ II: การเลือกตํารับที่เหมาะสมเมื่อแต่งรสต่างกัน 3 รส. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 2(1), 84-98.
กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย. (2562). ยาแก้ไอมะขามป้อมและยาอมมะแว้ง. สืบค้น 18 มกราคม 2566, จาก http://www.pharmbma.com/drug-list/m/318-ma-waeng-lozenges.
กลุ่มงานเภสัชกรรมและกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข. (2562). ฉลากเสริมยา อีนาลาพริล. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก https://fdakorat.files.wordpress.com.
การประชุมวิชาการร้านยาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1. (2563). ความดันโลหิตสูงสิ่งที่น่ารู้และต้องรู้. กรุงเทพฯ: สมาร์ทดิสเนซารี จำกัด.
ขนานฟ้า ฤทธิ์จรูญ. (2563). ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม Leicester cough questionnaire ฉบับภาษาไทยในการประเมินการไอเฉียบพลัน. สืบค้น 18 มกราคม 2566, จาก https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfpresent//MMP7.pdf.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). Dextromethorphan. สืบค้น 17 มกราคม 2566, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/5/ยาแก้ไอ-เดกซ์โทรเมทอร์แฟน-dextromethorphan.
ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย. (2562). การประเมินผลนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรของสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2560. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 17(3), 516-526.
ธนพนธ์ กีเวียน. (2561). การเปรียบเทียบผลการใช้ตำรับยาแก้ไอฝางและยาแก้ไอน้ำดำต่ออาการไอในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน. สืบค้น 17 มกราคม 2566, จาก https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2019/06/9-3.pdf.
บุษบา จินดาวิจักษณ์ม. (2560). ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงใช้อย่างไร. วารสารเภสัชกรรม โรงพยาบาล, 6(3), 10-11.
ปารยะ อาศนะเสน. (2554). อาการไอ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.rcot.org/datafile/_file.
ผกากรอง ชวัญข้าว. (2558). การใช้ยาจากสมุนไพร ทดแทนยาแผนปัจจุบัน. ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร.
พิชานันท์ ลีแก้ว. (2561). สมุนไพรแก้ไอมะขามป้อม. สืบค้น 18 มกราคม 2566, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/132661.
เยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา. (2557). ประสิทธิผลยาอมสมุนไพรมะขามป้อมในการลดอาการเจ็บคอเสียงแหบหลังการใส่ท่อช่วยหายใจเพือวางยาสลบ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(1), 75-82.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี.(2553). สถิติเพื่อการวิจัย. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก. (2565). รายงานข้อมูลผู้รับบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก. อุตรดิตถ์: มณฑลทหารบกที่ 35.
วีณา นุกูลการ. (2557). การศึกษาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชพื้นเมืองภาคอีสานของประเทศไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรินทร์รัตน์ จิตจำ, สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, วสันต์ หะยียะห์ยา, และณัฐ ขนิษฐา. (2562). การศึกษาตำรับยาสมุนไพรของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคหืด.
นครศรีธรรมราช: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ปรับปรุง พ.ศ.2558. สืบค้น 17 มกราคม 2566, จาก http://www.thaihypertension.org.
อำพล บุญเพียร. (2561). ประสิทธิผลของการนวดด้วยน้ำมันไพร และน้ำมันปาล์มต่ออาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณะสุข.