โปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ

ผู้แต่ง

  • พรศักดิ์ ปรีเลขา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • พัชราภา อินทพรต สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

โปรแกรมรวบรวมข้อมูล, เฟซบุ๊ก, แฟนเพจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยโปรแกรมสามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงการแสดงผลบนเฟซบุ๊กได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับปรุงโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมจะมุ่งเน้นที่การเก็บรวมรวม ข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจเนื่องจากมีข้อมูลของผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มเป็นจำนวนมาก เช่น เฟซบุ๊กแฟนเพจร้านขายกระเป๋าจะ มีข้อมูลของปริมาณลูกค้าที่ชื่นชอบกระเป๋าในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น โดยโปรแกรมจะเรียนรู้รูปแบบการจัดเรียงของ Tag HTML จากแฟนเพจต้นแบบ และนำไปใช้กับแฟนเพจเป้าหมายที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการประเมินความถูกต้อง ของข้อมูลที่จัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนา ในการทดลองผู้วิจัยทำการสุ่มเลือกเฟซบุ๊กแฟนเพจ จากการขายสินค้ากระเป๋าออนไลน์ จำนวน 20 เฟซบุ๊กแฟนเพจ ซึ่งผลลัพธ์พบว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ครบทุกหัวข้อ จำนวน 19 เฟซบุ๊กแฟนเพจ แต่มีจำนวน 1 เฟซบุ๊กแฟนเพจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เพียง 4 หัวข้อ คือ ชื่อไอดี จำนวนกดถูกใจ จำนวน ความคิดเห็น วันและเดือนที่ประกาศ และเข้าถึงข้อมูล แต่ข้อมูลไม่ครบถ้วนใน 2 หัวข้อ คือ ลิงก์รูปภาพไม่สามารถแสดง รูปภาพได้เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมโยงไปแหล่งที่มาและไม่สามารถเข้าถึงข้อความของประกาศได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็น ผลมาจากการใช้อักขระพิเศษผสมกับข้อความ จากผลลัพธ์ของการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจึงคิดเป็นร้อยละ 98.5 ในอนาคต สำหรับการเพิ่มความถูกต้องของโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถเพิ่มความถูกต้องได้โดยเพิ่มข้อมูลในแฟนเพจ ต้นฉบับเพื่อให้มีรูปแบบการแสดงผลที่หลากหลาย รวมทั้งนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลให้การ ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลต้นแบบจำเป็นจะต้องมีคุณลักษณะที่ดี กล่าวคือมีข้อมูลจำนวนมากและถูกกำหนด ชนิดของประกาศนั้น ๆ ไว้

References

กลยุทธ บพิตร. ขั้นตอนและวิธีการสกัดข้อมูลสินค้าบนเว็บเพจสำหรับเว็บครอเลอร์ที่ใช้ในโปรแกรมค้นหาสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเว็บ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์. กรุงเทพฯ; 2555.

วีระศักดิ์ เดศนพพรพันธุ์. สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก 2019 คนไทยใช้ติดเน็ตมากสุดในโลก. Think about wealth [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thinkaboutwealth.com/digitalstatworld-thailand2019/

ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์. แรงจูงใจและปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุค (facebook) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ; 2554.

วิภาดา พิทยาวิรุฬห์, ณักษ์ กุลิสร์. สื่อดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 2557;5(1):80-96.

ภานุรุจ ปวิดาภา. เนื้อหาการโพสต์ใน facebook fanpage และพฤติกรรมผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี; 2558.

วตณพงษ์ นิ่งสุวรรณ, วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊คและทัศนคติแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม “ถูกใจ” ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊คของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 2556;7(1):49-50.

ธัญลักษณ์กานต์ศิริกลุ, ลักษณา คล้ายแก้ว. การวิจัยและการสร้างสรรค์สื่อเฟซบ๊กแฟนเพจเพื่องานสื่อสารการตลาดของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. ใน: เอกสารประกอบการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561 วันที่ 16 สิงหาคม 2561. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี; 2561. หน้า 21-26.

ณัฐภณ กิตติทนนท์ชัย. การวิเคราะห์เนื้อหาสารและ การตอบสนองบนเพจเฟสบุ๊คเว็บท่องเที่ยวกรณีศึกษาเพจเฟสบุ๊คเว็บ Chillpainai. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี; 2558.

ปกรณ์ เอี่ยมศิรินพกุล. การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารใน facebook fanpage ของสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Globish English School. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี; 2560.

บงกช ขุนวิทยา. ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2556.

Thaiprayoon S, Haruechaiyasak C. Web plagiarism detection based on search result snippets. In: proceedings of the 25th International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC 2010), July 4, 2010; Pattaya, Thailand; 2010. p. 1097-100.

Thaiprayoon S. Automatic plagiarism detection based on information retrieval and natural language processing. In: proceedings of Applied Computer Technology and Information Systems (ACTIS 2013), April 18, 2013; Nonthaburi, Thailand; 2013. p. 85-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30