จริยธรรมการตีพิมพ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นจัดทำขึ้นใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบทความทุกคน ต้องมีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริง
3. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อมูลและผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยจริง รวมทั้งต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยอย่างครบถ้วน
4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องและครบถ้วน เมื่อมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง
5. ข้อความที่ปรากฏในบทความและองค์ประกอบทั้งหมดของบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่ผู้เดียว
6. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ
7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการวารสารมีระบบการตรวจสอบทางด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่จะตีพิมพ์ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ทั้งนี้หากตรวจพบ บรรณาธิการวารสารจะหยุดดำเนินการ และติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อให้มีการชี้แจงประกอบการพิจารณาในการตอบรับหรือการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
3. บรรณาธิการวารสารพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยคัดเลือกบทความที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ รวมทั้งความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับนโยบายของวารสาร
4. บรรณาธิการวารสารจะตัดสินโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำแนะนำจากผู้ประเมินบทความ และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ จากผู้นิพนธ์
5. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
6. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of  Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมารองรับมาร่วมเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาคุณภาพของบทความจากความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของเนื้อหาของบทความ รวมทั้งคุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน
3. ผู้ประเมินบทความจะต้องระบุผลงานวิจัยสำคัญ ๆ และมีความสอดคล้องกับบทความที่กำลังดำเนินการประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับแก้ไขและพัฒนาคุณภาพของบทความ
4. ผู้ประเมินบทความมีบทบาทต่อการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานจากผู้นิพนธ์ ทั้งนี้หากพบความซ้ำซ้อนให้แจ้งข้อมูลที่ตรวจพบมายังบรรณาธิการวารสาร
5. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
6. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ เช่น การรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงการ ผู้ร่วมงาน อันพึงทำให้ขาดอิสระในการพิจารณาบทความ โดยให้ทำการแจ้งบรรณาธิการและขอปฏิเสธการประเมิน