ความสัมพันธ์เชิงปริมาณของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของแต่ละภูมิภาคและฤดูกาล
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์เชิงปริมาณ, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)บทคัดย่อ
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญอันดับหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ซึ่งงานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงปริมาณของ PM10 และ PM2.5 ในพื้นที่เมืองของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้ ข้อมูลผลการตรวจวัดฝุ่นละอองทั้งสองขนาดในช่วงปี พ.ศ. 2557-2561 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จำนวน 8 สถานี ที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจากผลการ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า PM10 และ PM2.5 มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป โดยช่วงฤดูแล้งจะมี ปริมาณฝุ่นละอองมากกว่าช่วงฤดูฝน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ฝุ่นละอองทั้งสองขนาดมีความสัมพันธ์กัน และช่วงฤดูแล้ง มีระดับความสัมพันธ์สูงกว่าช่วงฤดูฝน โดยค่าสัดส่วนของ PM2.5/PM10 ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ จะมีค่าเท่ากับ 0.67, 0.65, 0.64, 0.59 และ 0.45 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนฝุ่นละอองของแต่ละ ภูมิภาค พบว่าภาคใต้แตกต่างจากทุกภูมิภาค และภาคเหนือแตกต่างจากภาคตะวันออก จากการเปรียบเทียบสัดส่วนฝุ่นละออง ระหว่างฤดูกาล พบว่าฤดูแล้งและฤดูฝนมีสัดส่วนฝุ่นละอองแตกต่างกัน โดยสัดส่วนฝุ่นละอองในฤดูแล้งภาคใต้มีค่าสัดส่วนฝุ่น ละอองแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ขณะที่ฤดูฝนมีเพียงภาคตะวันออกที่มีสัดส่วนฝุ่นละอองไม่แตกต่างกับภูมิภาคอื่น
References
นิตยา วัจนะภูมิ, นันทวรรณ วิจิตรวาทการ, พงศ์เทพวิวรรธนะเดช, วิชัย เอกพลากร, เพ็ญศรี วัจฉละญาณ, นเรศ เชื้อสุวรรณ และคณะ. โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2548.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: หจก. ส.มงคลการพิมพ์; 2562.
Hinkle DE, Wiersma W, Jurs SG. Applied statistics for the behavior sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin; 1998.
Phirata C. Relationships on quantitative and measurement of TSP and PM10. Master’s thesis, Mahidol University. Bangkok; 2005.
รพีพัฒน์ เกริกไกวัล. องค์ประกอบธาตุในฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา), บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2543.
สมพงษ์ เลิศพุฒิพิศุทธิ์. การกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 และ 10 ไมครอน บริเวณสถานีรถไฟฟ้า กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา), บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2547.
ขจรศักดิ์ โสภาจารีย์, เพชร เพ็งชัย. โครงการการสำรวจปริมาณฝุ่นในอากาศภายในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: สัญญาเลขที่ RDG4830010 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2550.
นเรศ เชื้อสุวรรณ์, สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา, สุรัตน์ เพชรเกษม, อมรพล ช่างสุพรรณ, ชนินทร์ เลิศคณาวนิชกุล, อรุณ คงแก้ว และคณะ. การศึกษาหาสัดส่วนของแหล่งกำเนิดฝุ่นขนาด 10 และ 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สัญญาเลขที่ RDG4530001 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2552.
ธัญภัสสร์ ทองเย็น. การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในฝุ่นละอองแต่ละขนาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2552.
ศิวรินทร์ ดวงแก้ว. องค์ประกอบคาร์บอนในบรรยากาศทั่วไปในเมืองกรุงเทพมหานครบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ