การวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา

ผู้แต่ง

  • ศรินยา ประทีปชนะชัย สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • อรินทรเชษฐ์ ศิรินันทวิทยา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

คำสำคัญ:

ขนาดและการกระจายตัว, ความหนาแน่นปรากฏ, ตำหนิฟองอากาศ

บทคัดย่อ

การเกิดฟองอากาศในเนื้อดินก่อให้เกิดตำหนิบนตัวผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาดินเผาลอนกาบกล้วย จึงทำการ วิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้งานเพื่อลดของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน 4 ชนิด ได้แก่ ดินดำดินแดง ดินขาว และแร่เฟลด์สปาร์ โดยทำการตรวจวัดความเป็นกรด-เบส ขนาดและการกระจายตัวของอนุภาค และความหนาแน่นปรากฏของดินแต่ละชนิด จาก ผลการศึกษาความเป็นกรด-เบสพบว่า ดินดำมีความเป็นกรดแก่ แต่ดินขาวมีความเป็นกลาง และแร่เฟลด์สปาร์มี ความเป็น เบสแก่ ผลการศึกษาขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคพบว่า แร่เฟลด์สปาร์มีขนาดอนุภาคสูงที่สุด รองลงมา คือ ดินขาว ส่วนดินดำและดินแดงมีขนาดอนุภาคต่ำที่สุดซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) และยัง พบอินทรีย์สารปนอยู่ในเนื้อดินเป็นจำนวนมาก แต่แร่เฟลด์สปาร์และดินขาวมีการกระจายตัวของอนุภาคต่ำที่สุด รองลงมา คือ ดินดำและดินแดงโดยมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) ผลการศึกษาความหนาแน่นปรากฏ พบว่า แร่เฟลด์สปาร์มีความหนาแน่นปรากฏสูงที่สุด รองลงมาคือ ดินแดง ดินดำและดินขาว ตามลำดับ ดังนั้นในขั้นตอน การเตรียมวัตถุดิบจำเป็นต้องกำจัดอินทรีย์สารที่ปนอยู่ในดิน ซึ่งทำให้เกิดการแตกสลายตัวออกมาเป็นก๊าซได้ขณะเผาซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดตำหนิรูเข็ม และควรเพิ่มความละเอียดในการบดดินและร่อนดินเพื่อลดขนาดเม็ดดินและเพิ่มการกระจายตัว สามารถใช้เป็นแนวทางในการลดตำหนิแบบหลุม การแตกร้าว และลักษณะผิวเคลือบไม่เรียบบนตัวผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงงาน อุตสาหกรรมได้

References

Saiintawong K. Process of ceramic roof tile. Ceram J 2009;13(31):11-15.

คชินท์ สายอินทวงศ์. การจำแนกแยกแยะข้อมูลเพื่อการ แก้ปัญหา. Thai ceramic society.com [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 8 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.thaiceramicsociety.com/ts_position.php

วรรณา ต.แสงจันทร์, ฉัตรกล้า ติตะปัน, ฉัตรชัย บาลศรี, ปราณี จันทร์ลา, อินทิรา มาฆพัฒนสิน. การควบคุม คุณภาพในดิน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ การ [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_ manual/M040.pdf

Thipjariyaudom Y. Enjoy the activity of GLOBE. Sci J 2003;31(126):35-42.

Kunyodying T. The effect of changes in talc size on the properties of earthenware. Ind Technol Lampang Rajabhat Uni J 2015;8(1):34-45.

Lawanwadeekul S, Boonma M. Effects of grinding and firing temperatures on physical and mechanical properties of common bricks from ban san bun reung community enterprise group lampang province. Ind Technol Lampang Rajabhat Uni J 2015;8(1):70-78.

คชินท์ สายอินทวงศ์. บอกลา..ตำหนิรูเข็ม. วารสาร เซรามิกส์ 2553;14(33):20-24.

Korwuttipong P. Development of a clay mixture from Ban Nong Hua Yang soil for stoneware pottery production. Ind Technol Lampang Rajabhat Uni J 2017;10(1):60-74.

Abuh MA, Abia-Bassey N, Udeinya TC, Nwannewuihe HU, Abong AA, Akpomie KG. Industrial potentials of adiabo clay in calabar municipal of cross river state south south Nigeria. Pac J Sci Technol 2014;15(1):63-75.

Qi F, Zhang R, Liu X, Niu Y, Zhang H, Li H, et al. Soil particle size distribution characteristics of different land-use types in the Funiu mountainous region. Soil Till Res 2018;184:45-51.

Vinati A, Mahanty B, Behera SK. Clay and clay minerals for fluoride removal from water: a state-of-the-art review. App Clay Sci 2015;114:340-8.

ดรุณี วัฒนศิริเวช, สุธี วัฒนศิริเวช, อภินนท์ นันทิยา. การศึกษาและปรับปรุงคุณสมบัติของเนื้อดินเซรามิก จากแหล่งดินเวียงกาหลง. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง. เชียงราย; 2562.

ภัทรพล เรืองศรี, จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง, ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. การศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จาก วัสดุเหลือใช้ประเภทกระเบื้องเซรามิกส์เพื่อประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารวิชาการ ศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2561; 9(2):101-17.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, ศิริธันว์ เจียมศิริเลิส, อนุชา วรรณก้อน, อัครพงศ์ อั้นทอง, อนุชา พรมวังขวา, วันทนีย์ พุกกะคุปต์ และคณะผลงานวิจัยและพัฒนา สูตรเคลือบและวิธีการใช้งานระบบฐานข้อมูลสูตร เคลือบสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2557.

Keller WD, Matlack K. The pH of clay suspensions in the field and laboratory, and methods of measurement of their pH. App Clay Sci 1990;5(2)123-33.

Chapman RS. Particle size and X-ray analysis of feldspar, calvert, ball and jordan soils. Washington, D.C.: Nasa Langley Research Center; 1977.

Xu L, Tian J, Wu H, Deng W, Yang Y, Sun W, et al. New insights into the oleate flotation response of feldspar particles of different sizes: anisotropic adsorption model. J Colloid Interface Sci 2017; 505:500-8.

จุติภา บุญวิเศษ, ปราณี จันทร์ลา. กระบวนการผลิต เซรามิก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “กระบวนการผลิต การตกแต่งลวดลาย การพัฒนารู ปแบบ และศึกษาดูงาน”. นราธิวาส: สำนั กเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30