ประสิทธิผลและผลข้างเคียงของยาธรณีสัณฑะฆาตเทียบกับยานาพรอกเซน ในการลดภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดเรื้อรัง
คำสำคัญ:
ยาธรณีสัณฑะฆาต, ภาวะเครียดออกซิเดชัน, อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดเรื้อรัง, คุณภาพการนอนหลับบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียวเพื่อประเมินประสิทธิผลของยาธรณีสัณฑะฆาตเทียบกับ ยานาพรอกเซนในการลดภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง อายุ ระหว่าง 22-55 ปี จำนวน 82 คน โดยสุ่มเป็น 2 กลุ่ม เพื่อรับยาธรณีสัณฑะฆาตและยานาพรอกเซน เป็นเวลา 14 วัน ดังนี้ ยาธรณีสัณฑะฆาต ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ1 ครั้งก่อนนอน และกลุ่มที่ได้รับยานาพรอกเซน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น ในวันที่ 0 และวันที่ 15 (ก่อนและหลังการได้รับยา) มี การวัดระดับ isoprostane ในปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเครียดออกซิเดชันร่วมกับการประเมินคุณภาพการนอนหลับ ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาและความพึงพอใจจากการใช้ยา ผลการศึกษาพบว่า ระดับ isoprostane ของทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีคุณภาพการนอนหลับดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับยาธรณีสัณฑะฆาตพบว่า มีอาการถ่ายเหลวมากสุด ร้อยละ 47.37 ส่วนกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับยานาพรอกเซนพบว่ามีอาการท้องผูกมากสุด ร้อยละ 24.39 ในภาพรวมพบว่าอาสาสมัคร มีความพึงพอใจในการได้รับยาในเกณฑ์สูงถึงสูงมากในทุกเกณฑ์การประเมินและไม่พบ อันตรายจากการใช้ยา
References
สมาคมเพื่อการวิจัยอนุมูลอิสระไทย. อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้ง แอนด์ เซอร์วิส; 2555.
สุภาภรณ์ อุดมทรัพย์. ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับและต้านออกซิเดชันของว่านพญาวานร (Pseuderanthemum palatiferum) ต่อความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเซลล์ HepG2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2554.
ยศพร พลายโถ. ฤทธิ์การป้องกันภาวะเครียดจากออกซิเดชันในเซลล์ลำไส้มนุษย์ของข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 24(5):813-30.
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/New/nlem2561.PDF
Wang B, Zhang Y, Huang J, Dong L, Li T, Fu X. Anti-inflammatory activity and chemical composition of dichloromethane extract from Piper nigrum and Piper longum on permanent focal cerebral ischemia injury in rats. Rev Bras Farmacogn 2017;27:369-74.
Liu X, Zhao M, Wang J, Yang B, Jiang Y. Antioxidant activity of methanolic extract of emblica fruit (Phyllanthus emblica L.) from six regions in China. J Food Compos Anal 2008;21(3):219-28.
Chatterjee UR, Bandyopadhyay SS, Ghosh D, Ghosal PK, Ray B. In vitro anti-oxidant activity fluorescence quenching study and structural features of carbohydrate polymers from Phyllanthus emblica. Int J Biol Macromol 2011;49(4):637-42.
Cao GY, Xu W, Yang XW, Gonzalez FJ, Li F. New neolignans from the seeds of Myristica fragrans that inhibit nitric oxide production. Food Chem 2015;173:231-7.
Baghshahi H, Riasi A, Mahdavi AH, Shirazi A. Antioxidant effects of clove bud (Syzygium aromaticum) extract used with different extenders on ram spermatozoa during cryopreservation. Cryobiology 2014;69(3):482-87.
Kumar S, Yadav A, Yadav M, Yadav J.P. Effect of climate change on phytochemical diversity, total phenolic content and in vitro antioxidant activity of Aloe vera (L.) Burm.f. BMC Res Notes 2017;10(1):60.
Saha S, Verma RJ. Antioxidant activity of polyphenolic extract of Terminalia chebula Retzius fruits. Integr Med Res 2016;10(6):805-12.
Su J, Chen J, Liao S, Li L, Zhu L, Chen L. Composition and biological activities of the essential oil extracted from a novel plant of Cinnamomum camphora Chvar. Borneol J Med Plants Res 2012;6:3487-94.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ยาธรณีสัณฑะฆาต: คุณภาพวัตถุดิบและความปลอดภัยของตำรับ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท 1241 มิราคูลัส จำกัด; 2555.
อมลวัทน์ แท่นคำ. ประสิทธิผลของยาธรณีสัณฑะฆาตเทียบกับยานาพรอกเซนในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืดเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมแผนไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2560.
Jason D, Morrow L, Jackson R. Quantification of noncyclooxygenase derived prostanoids as a marker of oxidative stress. Free Radic Biol Med 1991;10(3-4):195-200.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. คู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/Project/pdf/creatinine.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ