ผลของกระบวนการผลิตต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเร่วหอมผง

ผู้แต่ง

  • อสิริมา ชินสาร ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิชมณี ยืนยงพุทธกาล ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นิสานารถ กระแสร์ชล ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มุทิตา แคนมั่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาภาพรรณ ฉลองจันทร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เร่วหอมผง, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, การลวก, ขนาดอนุภาค

บทคัดย่อ

เร่วหอมมีสรรพคุณทางยาและมีสารกลุ่มโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ยังมีการใช้ประโยชน์จำกัดเฉพาะ ในจังหวัดจันทบุรี การแปรรูปเป็นเร่วหอมผงพร้อมใช้งานสามารถช่วยขยายตลาดของเร่วหอมออกไปยังพื้นที่อื่นได้ งานวิจัย นี้ศึกษาผลของกระบวนการผลิตต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลักษณะทางกายภาพของเร่วหอมผง โดยศึกษาผลของการลวก ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและค่าสีของเร่วหอมผง พบว่าการลวกในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์เร่วหอมผงมีปริมาณสาร ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าการลวกในน้ำและสารละลายโซเดียมคลอไรด์เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH assay (p ≤ 0.05) การศึกษาผลของอุณหภูมิในการทำแห้งต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและค่าสี พบว่าอุณหภูมิต่ำสามารถรักษา ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกไว้ได้มากที่สุด เร่วหอมผงมีค่าสีแดงเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิในการทำแห้งเพิ่มขึ้น การศึกษาผลของ ขนาดอนุภาคของเร่วหอมผงต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความสามารถในการละลายพบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงเมื่อขนาดอนุภาคเล็กลง โดยเร่วหอมผงที่ขนาดอนุภาค 300 ไมครอน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า ขนาดอนุภาคอื่น ๆ (p ≤ 0.05) ในขณะที่ค่าการละลายเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดอนุภาคเล็กลง โดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายเร่วหอมผงมี ความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระจากการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ β-carotene bleaching สูงถึง 75.47 และ 92.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

References

นรินทร์ พันธุ์ครู. เร่วหอมพืชสมุนไพรมากสรรพคุณ. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1503

กฤติกา นรจิตร. คุณสมบัติของสารสกัดจากพืชวงศ์ขิง: อิทธิพลของวิธีการสกัดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวเคมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ; 2548.

นิธิยา รัตนาปนนท์. เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2549.

ธนศักดิ์ แซ่เลี่ยว. ผลของการทำแห้งต่อสารประกอบฟีนอลิกและความสามารถต้านออกซิเดชันของกระชายเหลือง (Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ; 2552.

Shegokar R, Müller RH. Nanocrystals: industrially feasible multifunctional formulation technology for poorly soluble actives. Int J Pharm 2010;399(1):129-39.

Zhou K, Yu L. Total phenolic contents and antioxidant properties of commonly consumed vegetables grown in Colorado. LWT - Food Sci Technol 2006;39(10):1155-62.

Brand WW, Cuvelier ME, Berset C. Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. Lebenson Wiss Technol 1995;28(1):25-30.

Siddhuraju P, Becker K. Antioxidant properties of various solvent extracts of total phenolic constituents from three different agroclimatic origins of drumstick tree (Moringa oleifera Lam.) leaves. J Agric Food Chem 2003;51(8):2144-55.

Sanphakdee U. Caffeine and catechins analysis product recovery sanphakdee, 2007. [Internet]. 2007 [cited 2016 September 12]. Available from: https://text-id.123dok.com/document/ky6xovk4y-caffeine-and-catechins-analysisproduct-recovery-sanphakdee-2007.html

Lambrecht HS. Sulfite substitutes for the prevention of enzymatic browning in foods enzymatic browning and its prevention. Washington DC: American Chemical Society; 1995.

พัชรี สิริตระกูลศักดิ์, สกุลกานต์ สิมลา. ผลของกรรมวิธีการประกอบอาหารต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในดอกชมจันทร์. วารสารแก่นเกษตร 2558;43(1):875-80.

Rahman MS. Hand book of food preservation. New York: Marcel Dekker; 1999.

รัตนา อัตตปัญโญ, อัจฉรา เทียมภักดี. วิธีการยืดอายุการเก็บรักษาลำไยสดเพื่อการแปรรูปเป็นเนื้อลำไยอบแห้งในเชิงพาณิชย์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ; 2540.

วัชรพงษ์ ทสะสังคินทร์. องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของเหง้าเร่วหอมและเมล็ดกระวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี; 2556.

นิธิยา รัตนาปนนท์. เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2545.

เทวรัตน์ ทิพยวิมล. การคงคุณภาพผักอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปด้วยเทคนิคการอบแห้งแบบปั๊มความร้อน. นครราชสีมา: สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28