รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ บุรีเลิศ สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • นพรัตน์ ส่งเสริม สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภัทรภร เจริญบุตร สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โรคเบาหวานในเด็ก, การรับรู้การควบคุมตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พร้อมทั้งสร้างและประเมิน ประสิทธิผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัด อุบลราชธานี การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 เป็นนักเรียน จำนวน 369 คน สุ่มโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 เป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ผู้ปกครอง และครูที่สมัครใจเข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 50 คน และระยะที่ 3 สุ่มโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วย วิธีการจับสลากจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบทดสอบ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของนักเรียนประถม ศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีมีความเสี่ยงระดับสูง จำนวนถึง 206 คน (ร้อยละ 55.83) สำหรับรูปแบบการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาเป็นแบบบูรณาการแนวคิดการรับรู้การ ควบคุมตนเอง มี 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 2) การบันทึกข้อมูลทางสุขภาพ 3) การประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง และ 4) การอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่วนการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่าหลังจัด กิจกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้การควบคุมตนเองในการบริโภคอาหารและการเคลื่อนไหว ออกกำลัง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกกำลังเพิ่มขึ้น และมีน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้จากประสบการณ์ตรงในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับใช้ในสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนา ต่อเพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นต่อไป ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ชุมชนมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2554.

Tabak AG, Herder C, Rathmann W, Brunner EJ, Kivimäki M. Prediabetes: a high-risk state for diabetes development. Lancet 2012;379 (9833):2279-90.

Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Sangthong R, Inthawong R, Putwatana P, et al. Prevalence and management of diabetes and metabolic risk factors in Thai adults: the Thai National Health Examination Survey IV, 2009. Diabetes Care 2011;34(9):1980-5.

Thailand National Health Examination Survey Office. Thailand National Health and Examination Survey 2008-2009. [Internet]. 2016 [cited 2016 October 1]. Available from: http://ghdx.healthdata.org/record/thailand-national-healthand-examination-survey- 2008-2009

ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ, กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ. อันตรายจากโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2559;2(2):80-8.

วรรณี นิธิยานันท์, สาธิต วรรณแสง, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2550.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการทบทวนองค์ความรู้สถานการณ์และโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย เพื่อลดความเสี่ยงและภัยต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อในเยาวชน กรณีเรื่องโรคเบาหวานชนิดที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขุมวิท มีเดียมาร์เก็ตติ้ง; 2550.

จิตติวัฒน์ สุประสงค์สิน. โรคอ้วนกับปัญหาทางด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม. กรุงเทพฯ: บียอน์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2546.

Grey M, Berry D, Davidson M, Galasso P, Gustafson E, Melkus G. Preliminary testing of a program to prevent type 2 diabetes among high-risk youth. J Sch Health 2004;74(1):10-5.

American Diabetes Association. Standard of medical care in diabetes-2006. Diabetes Care 2006;29(S1): 4-42.

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Decis Process 2002;50:179-211.

Aekplakorn W, Bunnag P, Woodward M, Sritara P, Cheepudomwit S, Yamwong S, et al. A risk score for predicting incident diabetes in the Thai population. Diabetes Care 2006;29(8): 1872-7.

Nemet D, Barkan S, Epstein Y, Friedland O, Kowen G, Eliakim A. Short- and long-term beneficial effects of a combined dietarybehavioral-physical activity intervention for the treatment of childhood obesity. Pediatrics 2005;115(4):e443-9.

เกษฎาภรณ์ นาขะมิน. กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2554.

ดวงใจ สอนเสนา. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2550.

อรอนงค์ บุรีเลิศ. การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี; 2557.

Anderson ES, Wojcik JR, Winett RA, Williams DM. Social-cognitive determinants of physical activity: the influence of social support, selfefficacy, outcome expectations, and selfregulation among participants in a churchbased health promotion study. Health Psychology 2006;25(4):510-20.

Bandura A. Social foundation of thought and action: a social of cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1986.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

พัชรี ดวงจันทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนและดัชนีมวลกายในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ; 2550.

Roach JB, Yadrick MK, Johnson JT, Boudreaux LJ, Forsythe III WA, Billon W. Using self-efficacy to predict weight loss among young adults. J Am Diet Assoc 2003;103(10):1357-9.

Holcomb JD, Lira J, Kingery PM, Smith DW, Lane D, Goodway J. Evaluation of jump into action: a program to reduce the risk of noninsulin dependent diabetes mellitus in school children on the Texas-Mexico border. J Sch Health 2008;68(7):282-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28