ฤทธิ์ของสารสกัดผักปลัง ผักแพว และผักแขยงต่อการต้านมะเร็งและการกลืนกิน สิ่งแปลกปลอมของเซลล์แมคโครฟาจ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา เสมศรี กลุ่มวิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นันทิกานต์ ยงพิศาลภพ กลุ่มวิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นวพร คงด้วง กลุ่มวิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต กลุ่มวิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ต้านมะเร็ง, กลืนกินสิ่งแปลมปลอม, ผักปลัง, ผักแพว, ผักแขยง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งและการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์แมคโครฟาจจากสารสกัด ผักปลัง ผักแพว และผักแขยง จากการศึกษาฤทธิ์การต้านมะเร็งด้วยวิธีเอ็มทีทีและการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์ แมคโครฟาจเพาะเลี้ยงชนิด RAW264.7 ด้วยวิธีเอ็นบีที พบว่าสารสกัดผักแขยงมีความเป็นพิษ (IC50) ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เพาะเลี้ยงชนิด Molt4 มากที่สุด ที่ 52.6±7.54 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือ สารสกัดผักแพวและผักปลัง ที่ 56.1±10.90 และ 120.1±15.44 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ แต่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติเพาะเลี้ยงชนิด Vero นอกจากนี้ ยังพบว่า สารสกัดผักแขยงและผักปลังที่ความเข้มข้น 125 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกิน สิ่งแปลกปลอมของเซลล์แมคโครฟาจเพาะเลี้ยงชนิด RAW264.7 ได้ร้อยละ 14 และสารสกัดผักแพวที่ความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอม ได้ร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมการทดสอบ จากผลการศึกษานี้พบว่า สารสกัดผักแขยงนอกจากมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งสูงแล้ว ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกิน สิ่งแปลกปลอมได้มากขึ้นอีกด้วย

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. มะเร็งคืออะไร. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 27 ธ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nci.go.th/th/Knowledge/whatis.html

Garcia M, Jemal A, Ward EM, Center MM, Hao Y, Siegel RL, et al. Global cancer facts and figures. American Cancer Soc 2007;18:12-4.

Sriplung H, Sontipong S, Martin N, Wiangnon S, Vootiprux V, Cheirsilpa A, et al. Cancer incidence in Thailand, 1995-1997. Asian Pac J Cancer 2005;6(6):276-81.

ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ, รังสิยา บัวส้ม. รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล (hospital-based cancer registry). กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนียน อุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด; 2555.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2540.

Silva L, Souza DC, Resende LV, Nassur R, Samartini CQ, Goncalves WM. Nutritional evaluation of non-conventional vegetables in Brazil. An Acad Bras Cienc 2018;90(2):1775-87.

Krishnendu P. Cell growth inhibition and apoptosis by extract of Basella alba plant on U937 cells. World J Pharm Pharm Sci 2016;5:1251-61.

Sungkamanee S, Wattanathorn J, Muchimapura S, Thukham-mee W. Antiosteoporotic effect of combined extract of Morus alba and Polygonum odoratum. Oxid Med Cell Longev 2014;2014:579305.

Junsathian P, Yordtong K, Corpuz HM, Katayama S, Nakamura S, Rawdkuen S. Biological and neuroprotective activity of Thai edible plant extracts. Ind Crops Prod 2018;124:548-54.

นันทิยา สมภารม, จริญญาพร เนาวบุตร, ศุภเกต แสนทวีสุข, อัจฉราพร แถวหมอ. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดผักแพวในหลอดทดลองและในร่างกายของหนูแรท. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2557;1: 60-71.

อรนุช นาคชาติ, วรรณา เอกทอง, อรนุช คงลัก. สารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผงผักแขยง. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น 2557;36(2): 55-64.

Woraratphoka J, Intarapichet K, Indrapichate K. Antioxidant activity and cytotoxicity of six selected, regional, Thai vegetables. Am Euras J Toxicol Sci 2012;4(2):108-17.

Cassady JM, Baird WM, Chang CJ. Natural products as a source of potential cancer chemotherapeutic and chemopreventive agents. J Nat Prod 1990;53:23-41.

Kumar SS, Manoj P, Giridhar P. Nutrition facts and functional attributes of foliage of Basella spp. LWT Food Sci Technol 2015;64:468-74.

Jang DS, Su BN, Pawlus AD, Jones WP, Kleps RA, Bunyapraphatsara N, et al. Limnophilaspiroketone, a highly oxygenated phenolic derivative from Limnophila geoffrayi. J Nat Prod 2005;68(7):1134-6.

Islam MS, Rahi MS, Jahangir CA, Rahman MH, Jerin I, Amin R, et al. In vivo anticancer activity of Basella alba leaf and seed extracts against Ehrlich’s ascites carcinoma (EAC) cell line. Evid Based Complement Alternat Med 2018;1537896:1-11.

Woraratphoka J, Intarapichet K, Indrapichate K. Phenolic compounds and antioxidative properties of selected wines from the northeast of Thailand. Food Chem 2007;104:1485-90.

Wattanathorn J, Somboonporn W, Sungkamanee S, Thukummee W, Muchimapura S. A double-blindplacebo-controlled randomized trial evaluating the effect of polyphenol-rich herbal congee on bone turnover markers of the perimenopausal and

menopausal women. Oxid Med Cell Longev 2018;2091872:1-11.

Khamchun S, Baiubol P, Nilsri N. Effects of folk wisdom boiled herb extract, Phyllanthus amarus Schum&Thorn, Phyllanthus acidus (L.) skeels and Pandanus amaryllifolius on neutrophil, red blood cell and platelet functions. Bull Chiang Mai Assoc Med Sci

;48:144-53.

Xu HD, You CG, Zhang RL, Gao P, Wang ZR. Effects of astragalus polysaccharides and astragalosides on the phagocytosis of Mycobacterium tuberculosis by macrophages. J Int Med Res 2007;35:84-90.

Kim GS, Kim DH, Lim JJ, Lee JJ, Han DY, Lee WM, et al. Biological and antibacterial activities of the natural herb Houttuynia cordata water extract against the intracellular bacterial pathogen Salmonella within the RAW 264.7 macrophage. Biol Pharm Bull 2008;31:2012-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28