การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมสำหรับตัวแบบปัวซงที่มีศูนย์เฟ้อสำหรับ การถดถอยในตัวอันดับที่ 1
คำสำคัญ:
แผนภูมิควบคุม, ตัวแบบปัวซงที่มีศูนย์เฟ้อสำหรับการถดถอยในตัวอันดับที่ 1, ค่าความยาวรันเฉลี่ย, วิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average control chart: MA) แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองครั้ง (Double Moving Average control chart: DMA) และ แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง (Exponentially Weighted Moving Average control chart: EWMA) ของตัวแบบปัวซงที่มีศูนย์เฟ้อสำหรับการถดถอยในตัวอันดับที่ 1 (ZIPINAR(1)) ที่การเปลี่ยนแปลงระดับต่าง ๆ โดย พิจารณาจากค่าความยาวรันเฉลี่ย (Average Run Length: ARL) ด้วยวิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โล ผลการวิจัย พบว่าแผนภูมิควบคุม DMA มีประสิทธิภาพในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงดีกว่าแผนภูมิควบคุม MA และแผนภูมิควบคุม EWMA ก็ต่อเมื่อสัดส่วนความเป็นศูนย์มีค่าเท่ากับ 0.5 และอยู่ในช่วงของระดับการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็ก (δ ≤ 1.0) ใน กรณีสัดส่วนความเป็นศูนย์มีค่ามากขึ้นเท่ากับ 0.7 และ 0.9 แผนภูมิควบคุม MA มีประสิทธิภาพในการตรวจจับการ เปลี่ยนแปลงดีกว่าแผนภูมิควบคุม DMA และแผนภูมิควบคุม EWMA และอยู่ในช่วงของระดับการเปลี่ยนแปลงขนาดปานกลาง (0.3 ≤ δ ≤ 1.5)
References
ณัฐวุฒิ อุ่นวรรณธรรม. ความยาววิ่งเฉลี่ยและพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวแบบทวินามที่มีศูนย์มาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2555.
Shewhart WA. Economic control of quality of manufactured product. New York: Van Nostrand; 1931.
Page ES. Continuous inspection schemes. Biometrika 1954;41:100-14.
Roberts SW. Control chart tests based on geometric moving average. Techmometrics 1959;1:250-39.
Khoo BC. A moving average control chart for monitoring the fraction non-conforming. Qual Reliab eng Int 2004;20:617-35.
Khoo BC, Wong VH. A double moving average control chart: communications in statisticssimulation and computation 2008;37:1696-1708.
ธนะวิชช์ โภคินพสิษฐ์, อินทุอร หมื่นศักดา, ศริญญา พูนสวัสดิ์. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิ CUSUM และแผนภูมิ EWMA เมื่อกระบวนการมีตัวแบบ ZIPINAR(1). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาสถิติประยุกต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ; 2559.
Rakitzis AC, WeiB CN, Castagliola P. Control charts for monitoring correlated Poisson counts with an excessive number of zeros. Qual Reliab eng Int 2017;33:413-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ