The impacts of forest fires in 1998-2020 on the communities and the environment in Northern Thailand by employing descriptive statistics and analysis of extreme values
ผลกระทบจากไฟป่า พ.ศ. 2541-2563 ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสุดขีด
คำสำคัญ:
ไฟป่า, วิธีโมเมนต์เชิงเส้น, วิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด, การแจกแจงสุดขีดวางนัยทั่วไปบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากไฟป่าของภาคเหนือของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2563 ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และพยากรณ์ปริมาณพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้สูงสุดในรอบ 5 ปี 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี ข้างหน้า โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสุดขีด โดยเปรียบเทียบวิธีการประมาณพารามิเตอร์โดยใช้วิธีโมเมนต์เชิงเส้น และวิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุดภายใต้การแจกแจงสุดขีดวางนัยทั่วไป เมื่อ คือพารามิเตอร์บ่งตำแหน่ง คือพารามิเตอร์บ่งขนาด และ คือพารามิเตอร์บ่งรูปร่าง จากข้อมูลปริมาณพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้พบว่ามีความเสียหายเฉลี่ยอยู่ 62,628 ไร่ต่อปี และผลจากการวิเคราะห์ค่าสุดขีดพบว่าค่าประมาณพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับข้อมูลภายใต้การแจกแจงสุดขีดวางนัยทั่วไป คือค่าประมาณที่ได้จากวิธีการประมาณแบบภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (MLE) โดยค่าประมาณพารามิเตอร์ตำแหน่ง เท่ากับ 41367.07 ค่าประมาณพารามิเตอร์ขนาด เท่ากับ 28347.46 ค่าประมาณพารามิเตอร์รูปร่าง เท่ากับ 0.1924911 เมื่อนำมาพยากรณ์ปริมาณพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้สุดสูงพบว่าในรอบ 5 ปี 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี ข้างหน้า จะมีปริมาณพื้นป่าที่ถูกไฟไหม้สูงถึง 906,60.77 ไร่ 121,207.11 ไร่ 154,959.47 ไร่ และ 176,603.81 ไร่ ตามลำดับหรืออาจจะเสียหายมากกว่านี้เกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 1 ครั้ง และอาจเกิดปีใดก็ได้ ผลของการประมาณค่าพารามิเตอร์นี้สามารถทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเกิดไฟป่าในอนาคต ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า ป้องกันผลกระทบต่อสัตว์ป่า เศรษฐกิจ และสุขภาพ เพื่อจะนำไปสู่แหล่งชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นและปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเขตภาคเหนือในอนาคต
References
2. นายชินวัฒน์ เมืองแก้ว นายพงศธร พรธีรนารถ และ นายนภดล ทองถาวร. แบบจำลองค่าสุดขีดของปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล. กรุงเทพฯ: มหาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2561.
3. ปิยภัทร บุษบาบดินทร์. การวิเคราะห์ค่าสุดขีดด้วย R. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม; 2560.
4. ส่วนควบคุมไฟป่า. สถิติไฟป่า[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://portal. dnp.go.th /Content/firednp?contentId=15705&fbclid=IwAR29RJd2nLF__BoE_oIrIpTgLyyqSQ-7PH4tfETM5WWKu s1Csf3OIHJyYks
5. กองจัดการคุณภาพอากาศและมลพิษ. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.air4thai.com/webV2/download_report.php?file=northhaze_2020
6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=594
7. Filkova I. A., Ngo T., Matthews S., Telfer S., & Penman D.T. Impact of Australia’s catastrophic 2019/20 bushfire season on communities and environment. Retrospective analysis and current trend. Journal of Safety Science and Resilience 2020; 1: 44-56.
8. Coles, S. An introduction to statistical modeling of extreme values. London: Springer Verlag; 2001.
9. Dickey, A. D. & Fuller A. W. The likelihood ratio statistics for Autoregressive Time Series with a Unit Root. Econometrica 1981; 49(4): 1057-1072.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ